รูปแบบของการบูรณาการ (Model of integration) (เพิ่มเติม บท 6)

การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่พบโดยทั่วไปมีอยู่ 4 แบบ
1. การบูรณาการแบบสอดแทก (Infusion)         
          การเรียนรู้แบบนี้ครูจะนำเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาสอดแทรกในรายวิชาของตนเองเป็นการ วางแผนการสอนและทำการสอนโดยครูเพียงคนเดียว
          ข้อดี      
                   1. ครูคนเดียวบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้และเวลาที่ใช้โดยสะดวก               
                   2. ไม่มีผลกระทบกับครูผู้อื่นและการจัดตารางสอน
          ข้อจำกัด
                   1. ครูคนเดียวอาจไม่มีความชำนาญในเนื้อหาวิชาบางเรื่อง               
                   2. เนื้อหาวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดอาจซ้ำซ้อนกับของวิชาอื่น                
                   3. ผู้เรียนจะมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้
2. การบูรณาการแบบขนาน (Parallel)         
          การเรียนรู้แบบนี้ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตนเองแต่จะมาวางแผน ตัดสินใจร่วมกันว่าจะจัดแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมุ่งสอนในหัวเรื่อง (Theme) ความคิดรวบยอด (Concept) และปัญหา (Problem) เดียวกันในส่วนหนึ่ง
          ข้อดี
                   1. ครูผู้สอนแต่ละคนยังคงบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้เวลโดยสะดวก         
                   2. ไม่มีผลกระทบกับครูผู้อื่นและการจัดตารางสอน         
                   3. เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนลดการซ้ำซ้อนลง ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกัน
ข้อจำกัด
                   1. ครูยังคงต้องรับภาระเนื้อหาวิชาที่ไม่ชำนาญ               
                   2. ผู้เรียนยังมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้              
3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidiscipline)
          การเรียนรู้แบบนี้คล้ายกับแบบคู่ขนาน ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ มาวางแผนการสอนร่วมกันในการให้งานหรือโครงการที่มีหัวเรื่อง แนวคิดหรือความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน
          ข้อดี
                   1. สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม        
                   2. ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน       
                   3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง
          ข้อจำกัด
                   1. มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน 
4. การบูรณาการแบบข้ามวิชา (Transdisciplinary)
          การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ จะมาร่วมกันสอนเป็นคณะ ร่วมกันวางแผน กำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน
          ข้อดี
                   1. สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม         
                   2. ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน          
                   3. ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง
          ข้อจำกัด
                   1. มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน               
                   2. ผู้สอนต้องควบคุมการเรียนให้ทันตามกำหนด


ที่มา : https://www.kroobannok.com/3735

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น