ตรวจสอบและทบทวนบทที่ 3

ตรวจสอบและทบทวน

           ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น วิเคราะห์ภาระงาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุงาน และภาระงาน โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ การออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ จากขั้น การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ (setting learning goals) ลักษณะสำคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทำไม่ได้ และในขณะเดียวกันต้องครอบคลุมสาระสำคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ



1.      ชิ้นงาน/ภาระงาน
ภาระงาน
o   ร่วมกันวิจารณ์ผลงานจากการชม VDO ในหัวข้อ  ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยี
o   บันทึกสรุปเกี่ยวกับความหมาย และความสำคัญของเทคโนโลยี
o   นำเสนอผลงานของกลุ่มตามหัวข้อที่ได้รับ
ชิ้นงาน
          ผังความคิดเรื่องเทคโนโลยี (เน้นที่นักเรียนเห็นว่าเกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนเป็นหลัก)

2.      วิธีการจัดการเรียนรู้
1.       การสร้างแรงจูงใจในตนเอง (S:Self  Motivation) 
o   นักเรียนชม V.D.O. เรื่อง กระบวนการของเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยี
ในการผลิต  หลายๆรูปแบบ
2.       การเสาะแสวงหาความรู้ (I:Investigation)
-     นักเรียนฟังบรรยายประกอบV.D.O และภาพนิ่งของเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆในหัวข้อ
§  ความเป็นมาของเทคโนโลยี
§  ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับชีวิตของมนุษย์
§  ประโยชน์ของเทคโนโลยี
§  ระบบกระบวนการของเทคโนโลยีที่มนุษย์ทำมาช่วยในการในการแก้ปัญหา  ละพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
3.       การสร้างองค์ความรู้(C:Construction) 
    -     นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์  วิจารณ์กระบวนการของเทคโนโลยีจากการชมภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหวในVDO
                           -     นักเรียนบันทึกคำบรรยาย  คำศัพธ์  ความหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
                           -     นักเรียนสร้างผังความรู้จากคำว่า เทคโนโลยี
4.       การนำความรู้ไปใช้ (A:Application)
o   นักเรียนออกแบบและสร้างจำลองโครงสร้างสะพานจากหลอดกาแฟ  ตามใบงานที่ 1  เรื่องการออกแบบโครงสร้างรองรับน้ำหนัก
o   นักเรียนนำเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
5.       การทบทวนความรู้ (R:Revision)
o   นักเรียนชมบันทึกการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติที่ทีมของโรงเรียนได้เข้าร่วมการแข่งขัน หลังจากนั้นให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานที่ทีมหุ่นยนต์ได้เข้าร่วมการแข่งขันกับทีมอื่นๆ
3.      กระบวนการจัดการเรียนรู้
1.       การสร้างแรงจูงใจในตนเอง (S:Self  Motivation) 
2.       การเสาะแสวงหาความรู้ (I:Investigation)
3.       การสร้างองค์ความรู้(C:Construction) 
4.       การนำความรู้ไปใช้ (A:Application)
5.       การทบทวนความรู้ (R:Revision

4.      การบูรณาการ
o   วิถีพุทธ (เรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานแบบกัลยาณมิตรเคารพให้เกียรติในความคิดเห็นของกันและกัน) 
o   กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และการงานอาชีพและเทคโนโลยี
5.      สื่อและแหล่งเรียนรู้
o   VDO  เรื่อง  วิวัฒนาการของเทคโนโลยี
o   VDO  เรื่อง  ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยี
o   VDO  เรื่อง  การแข่งขันหุ่นยนต์ภายในประเทศและนานาชาติ
o   ภาพนิ่งประสบการณ์การแข่งขันหุ่นยนต์ ปี 2549-ปัจจุบัน

6.      การวัดและประเมินผล
มาตรฐานและตัวชี้วัด
ชิ้นงาน/ภาระงาน
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การผ่าน
ง2.1/1
ม1  อธิบายและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
ม2  วิเคราะห์ระบบเทคโนโลยี
ภาระงาน
    -   จดบันทึกสรุปผลจากการชม VDO
    -    บันทึกการวิจารณ์ร่วมกัน
    -    บันทึกสรุปเกี่ยวกับความหมาย  ความสำคัญ  ประโยชน์  ระบบของกระบวนการเทคโนโลยี
ชิ้นงาน
   -   สะพานจำลองจากหลอดกาแฟ
   -   ผังความคิด เรื่องเทคโนโลยี
  -    ใบงานที่ 1 เรื่องการออกแบบโครงสร้าง

-   ตรวจงาน
-   สังเกตพฤติกรรม

-  สมุดบันทึก
-  แบบประเมินผลงาน
-  แบบสังเกตพฤติกรรม

- บันทึกครบตามหัวข้อที่กำหนดระดับดีขึ้นไป


ที่มา : https://tatumkit.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น