ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล ปฏิบัติการผลิตหรือจัดหาสื่อที่เกี่ยวข้อง บทเรียน
การวางแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ได้ดําเนินการแล้ว การนําเสนอสาระความรู้ในรูปแบบ
ดิจิทัล อาทิ พาวเวอร์พอยต์
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล
ปัจจุบันในสถาบันการศึกษาได้มีการส่งเสริมให้มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในห้องเรียนมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
หรือเรียนรู้จากวีดิทัศน์และซีดีรอม
สื่ออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เป็นอีกมิติหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้
ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้นักเรียนได้สังเกตและเรียนรู้จากสถานการณ์หลากหลาย
มีรูปแบบการนำเสนอที่แปลกใหม่
และมักออกแบบมาเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลังจากที่ได้ใช้ประโยชน์จากสื่อเหล่านี้มาแล้ว
หากครูผู้สอนคิดอยากเปลี่ยนบทบาทจากผู้ใช้ มาเป็นผู้สร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์
จะมีแนวทางอย่างไร
ในการเริ่มต้นสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง
ถ้าจะสร้างบทเรียนทั้งบทเรียนอาจซับซ้อน เกินไป และใช้เวลาค่อนข้างมาก
การสร้างสื่อการสอนย่อยๆ ที่เรียกว่า Learning Object เป็นจุดเริ่มต้นที่ไม่น่าจะเกินกำลัง
แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Learning Object กันก่อน
Learning Object คือ สื่อการเรียนรู้ดิจิตอล
ที่ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
โดยแต่ละเรื่อง จะนำเสนอแนวคิดหลักย่อยๆ ผู้สอนสามารถเลือกใช้ Learning Object ผสมผสานกับการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย
และสามารถนำมาใช้ใหม่ (ใช้ซ้ำ) ได้
การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล
สื่อการสอนเป็นตัวกลางระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ผู้สอนแต่ละคนจะมีแนวคิดเป็นของตนเองว่าควรจะนำเสนอเนื้อหาอะไรลงในสื่อการสอน
แต่ปัญหาที่ผู้เรียนมักประสบอยู่เสนอก็คือ การที่ต้องศึกษาจากสื่อใด ๆ
ก็ตามที่เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระจนไม่สามารถแยกได้ว่าอะไรคือสาระสำคัญ เช่น
ภาพที่เต็มไปด้วยรายละเอียด แผ่นโปร่งใสหรือสไลด์ที่เต็มไปด้วยข้อความ
และมีจำนวนมากเกินกว่าที่จะรับรู้และเรียนรู้ในครั้งหนึ่งๆ การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำได้ไม่ยากเลย
ถ้าเพียงแต่ผู้สอนจะศึกษาเนื้อหาที่ตนจะสอนให้ดีแล้วคัดเลือกเฉพาะส่วนที่สำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนดีขึ้น
เมื่อคัดเลือกแล้วลองพิจารณาด้วยว่า
ข้อความหรือภาพที่ตั้งใจจะใส่ลงในสื่อการสอนนั้นตนเองจะสามารถบรรยายให้ผู้เรียนเข้าใจได้หรือไม่
ถ้าได้ก็ไม่จำเป็นต้องทำเป็นสื่อการสอน
แต่ถ้าคิดว่าการบรรยายเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอก็ให้วางแผนทำสื่อการสอนต่อไป
ก่อนที่ผู้สอนจะวางแผนผลิตสื่อการสอน
ต้องระลึกไว้เสมอว่า สิ่งที่เสนอในสื่อการสอนอาจเป็นหัวเรื่องและหัวเรื่องย่อย
ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น
ๆ และเรียนรู้ไปทีละหัวเรื่องหรืออาจเป็นข้อความที่สำคัญ
แต่ไม่ยาวจนเกินไปนัก
เพื่อให้ผู้เรียนได้รายละเอียดที่ถูกต้องครบถ้วนเหมือนกันทุกคน เช่น
คำจำกัดความ หลักการ ทฤษฎี คำกล่าวต่าง ๆ เป็นต้น หรืออาจเป็นภาพประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่อธิบายได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
เนื้อหาวิชาหรือ Subject
Content เป็นส่วนที่จะให้รายละเอียดหรือความรู้เกี่ยวกับหัวข้อต่าง
ๆ การที่จะคัดเลือก ตัดทอน หรือจัดลำดับของเนื้อหาเพื่อนำเสนอ ผู้สอนต้อง
เข้าใจเนื้อหานั้นเป็นอย่างดี
และต้องรู้ว่าการจัดลำดับเนื้อหาจะมีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรบ้าง
การศึกษาและการวิเคราะห์เนื้อหาที่จะนำมาเขียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การวางแผนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้
การเตรียมการสอนเริ่มด้วยการจัดทำแผนการสอน
ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผน มาสร้าง
เป็นแผนการสอนย่อยๆ
องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการสอน ควรมีดังนี้ (สำลี รักสุทธี และคณะ.
2541
: 7)
1. สาระสำคัญ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. เนื้อหา
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
5. สื่อการเรียนการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียน
รายละเอียดแผนการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้
(Lesson
Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ
โดยการบูรณาการของหน่วยศึกษานิเทศก์ (สำลี รักสุทธี และคณะ. 2541 : 136 –
137)
1. สาระสำคัญ (Concept)
เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่
ต้องการให้เกิดกับนักเรียน
เมื่อเรียนตามแผนกาสอนแล้ว
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
(Learning Objective) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่
ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว
3. เนื้อหา (Content)
เป็นเนื้อหาที่จัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
(Instructional Activities) เป็นการสอนขั้นตอนหรือ
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional
Media) เป็นสื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม
การเรียนการสอน
ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
6. การวัดผลและประเมินผล
(Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนด
ขั้นตอนหรือวิธีการวัดและประเมินผล
ว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียน
การสอน
แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน
7. กิจกรรมเสนอแนะ
เป็นกิจกรรมที่บันทึกการตรวจแผนการสอน
8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา
เป็นการบันทึกตรวจแผนการสอนเพื่อเสนอ
แนะหลังจากได้ตรวจสอบความถูกต้อง
การกำหนดรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ในแผนการสอน
9. บันทึกการสอน
เป็นการบันทึกของผู้สอน หลังจากนำแผนการสอนไปใช้แล้ว
เพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป
มี 3 หัวข้อ คือ
9.1 ผลการเรียน
เป็นการบันทึกผลการเรียนด้านสุขภาพและปริมาณทั้ง
3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย
จิตพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งกำหนดในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมิน
9.2
ปัญหาและอุปสรรค เป็นการบันทึก ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ในขณะสอน
ก่อนสอน และหลังทำการสอน
9.3 ข้อเสนอแนะ
/ แนวทางแก้ไข เป็นการบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อ
แก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอน
ให้เกิดการเรียนรู้ บรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนที่หลักสูตรกำหนด
การนําเสนอสาระความรู้ในรูปแบบ ดิจิทัล อาทิ
พาวเวอร์พอยต์
ประเภทของสื่อนำเสนอ
- สื่อเพื่อการนำเสนอโครงการ(กิจกรรม)
- สื่อเพื่อสรุปโครงการ(กิจกรรม)
- สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์
- สื่อประกอบการบรรยาย
- องค์ประกอบของสื่อนำเสนอ
- หากจะแบ่งสื่อนำเสนอออกเป็นส่วนๆ
ควรประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
- ส่วนนำเรื่อง Beginning
- ส่วนเนื้อหา Middle
- ส่วนท้ายเรื่อง End
โดยในการนำเสนอนั้น
จะแบ่งทั้ง 3 ส่วน อัตราส่วน ส่วนนำเรื่องและส่วนท้ายเรื่อง รวมกัน 20-25% ส่วนเนื้อหา 75-80%
1.สื่อเพื่อการนำเสนอโครงการ(กิจกรรม)
จะมีโครงสร้าง โดยย่อ ดังนี้
ส่วนนำเรื่อง
Beginningบอกชื่อเรื่อง บอกวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงสาระสำคัญของโครงการ
ส่วนเนื้อหา
Middleส่วนนี้จะบอกในส่วนขององค์ประกอบหรือขั้นตอนของกิจกรรมหลักๆของโครงการ
ส่วนท้ายเรื่อง
Endส่วนนี้เป็นส่วนที่แสดงให้ผู้ฟังรับทราบว่าสิ้นโครงการนี้ จะได้ อะไร
2.สื่อเพื่อสรุปโครงการ(กิจกรรม) จะมีโครงสร้าง โดยย่อ ดังนี้
ส่วนนำเรื่อง
Beginningบอกชื่อเรื่อง รวมถึงต้องบอกความเป็นมาของโครงการ
ส่วนเนื้อหา
Middleส่วนนี้จะสรุปขั้นตอนของการดำเนินการของโครงการ
ส่วนท้ายเรื่อง
Endส่วนนี้เป็นส่วนสรุปผล ประเด็นปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดในการดำเนินการ
และข้อเสนอแนะที่ผู้ดำเนินการเห็นว่าควรนำเสนอ
3.สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์
จะมีโครงสร้าง โดยย่อ ดังนี้
ส่วนนำเรื่อง
Beginningเป็นส่วนเริ่มต้นที่จะมีชื่อเรื่องหรือไม่ก็ได้ โดยปกติจะเป็นสื่อแนะนำหน่วยงาน
ซึ่งอาจจะเริ่มด้วยสภาพ บริบท บทบาทหน้าที่หรือภารกิจหลักในภาพรวม ของหน่วยงาน
ส่วนเนื้อหา
Middleส่วนนี้อาจเป็นส่วนการนำเสนอโครงสร้าง อธิบายภารกิจ กิจกรรมที่ดำเนินการ
ส่วนท้ายเรื่อง
Endส่วนแสดงถึงผลงานที่ดีเด่น อาจจะปิดท้ายด้วยคำขวัญหรือปรัชญา ขององค์กร
4.สื่อประกอบการบรรยาย
จะมีโครงสร้าง โดยย่อ ดังนี้
ส่วนนำเรื่อง
Beginningบอกชื่อเรื่อง และหัวข้อเรื่องต่างๆที่จะบรรยายหรือที่จะนำเสนอ
ส่วนเนื้อหา
Middleส่วนนี้เป็นส่วนนำเสนอเนื้อหา ซึ่งจะต้องนำเสนออย่างเป็นขั้นเป็นตอน
พร้อมทั้งมีตัวอย่างแทรก
ส่วนท้ายเรื่อง
Endส่วนนี้เป็นส่วนสรุปประเด็นที่สำคัญของเนื้อหา รวมถึงเป็นช่วงการตอบปัญหา
ซักถาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น