ตรวจสอบทบทวน
ในการเขียนแผนการจัดจัดการเรียนรู้ขั้น
การประเมินการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการเขียนระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ (rubrics) ซึ่งอาจใช้แนวทางการกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะตามแนวคิด Solo
taxonomy การเรียนรู้อย่างลุ่มลึก ไม่ใช่เรียนแบบผิวเผิน
หรือแนวทางอื่นๆ
การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการจัดทำ
หลักสูตรสถานศึกษา
เพราะเป็นส่วนที่นำมาตรฐานการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติในการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพได้
มาตรฐานอย่างแท้จริง ผู้เรียนจะบรรลุมาตรฐานหรือไม่ อย่างไร ก็อยู่ที่ขั้นตอนนี้
ดังนั้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างแท้จริงทุกองค์ประกอบของหน่วยการเรียนรู้
ต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปี
โดยครูต้องเข้าใจและสามารถวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งที่ต้องการให้นักเรียนรู้และปฏิบัติได้ในมาตรฐานและตัวชี้วัดชั้นปีนั้นคืออะไร
องค์ประกอบที่สำคัญของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ชื่อหน่วยการเรียนรู้
2. มาตรฐานการเรียนรู้
3. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้
4. ชิ้นงานหรือภาระงานที่ให้นักเรียนปฏิบัติ
5. กิจกรรมการเรียนการสอน
6. การวัดและประเมินผล
ข้อสอบ
องค์ประกอบที่สำคัญของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
มี 6 องค์ประกอบ ข้อใดไม่ใช่
ก. มาตรฐานการเรียนรู้
ข. ผลการเรียนรู้
ค.
ชิ้นงานหรือภาระงานที่ให้นักเรียนปฏิบัติ
ง. สาระสำคัญของหน่วยการเรียนรู้
SOLO
Taxonomy
หรือ The
Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy จึงเป็นแบบ (Model)
ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย
ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ
John B. Biggs และ Kelvin Collis (1982)
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ
5 ระดับ ดังนี้
1. Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน)
คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง
และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น
ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว)
คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น
สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3. Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง)
คือ
การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ
เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์)
คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น
ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์
อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5. Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม)
คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง
หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น