ความหมายของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก คือ
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม
การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
โดยผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
หรือ สมศ. เพื่อมุ่งให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้ประเมินภายนอกหรือคุณหมอโรงเรียนมีความเป็นอิสระ
และเป็นกลาง
ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับการประเมินคุณภาพภายนอกจะนำไปสู่การเข้าถึงคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นกลาง
เพื่อสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างแท้จริง
แนวคิดและหลักการของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินภายนอกของ สมศ.
เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบ ''กัลยาณมิตรประเมิน'' โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อตรวจสอบ
ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กำหนด
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะทอ้นให้เห็นจุดเด่น-จุดด้อยของสถานศึกษา
เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ความสำคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอก
มีความสำคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
ดังต่อไปนี้
ประการที่ 1
เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานและพัฒนาตนเองให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
ประการที่ 2 เพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาว่าสถานศึกษาได้จัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดี
มีความสามารถ และมีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ประการที่ 3 สถานศึกษาและหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา
หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วยตัดสินใจในการวางแผนและดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
ประการที่ 4 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสำคัญในภาพรวมเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัด
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแนวนโยบายทางการศึกษาและการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาระบบและเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก
-
ความหมายของผู้ประเมินภายนอก
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึง
บุคคลทั้งที่เป็นนักวิชาการ/วิชาชีพ หรือผู้ปกครอง
ผู้แทนชุมชนที่มีคุณสมบัติตามที่ สมศ. กำหนด และได้รับการรับรองจาก
สมศ.ให้ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ผู้ประเมินภายนอก คือ คุณหมอโรงเรียนนั่นเอง
-
คุณสมบัติของผู้ประเมินภายนอก
การประเมินคุณภาพภายนอกอย่างสร้างสรรค์เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาต้องอาศัยความรู้
ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญหรือคุณวุฒิ
พร้อมทั้งบุคลิกภาพและเจตคติที่เหมาะสมของผู้ประเมินภายนอก สมศ. จึงกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้น
และคุณสมบัติเฉพาะ
สำหรับผู้ที่จะได้รับการรับรองและแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินภายนอกดังนี้
-
คุณสมบัติเบื้องต้น
1) อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ แต่ต้องไม่เกิน 65 ปี
ในวันที่ยื่นใบสมัคร
2) มีสัญชาติไทย
3) สามารถปฏิบัติงานได้เต็มเวลา
4) มีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
หรือมีความรู้ ความสามารถ
และประสบการณ์การทำงานที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพเป็นที่ยอมรับและไม่เคยถูกลงโทษทางจริยธรรม
5) ในกรณีที่เป็นข้าราชการต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาระดับกรมขึ้นไป
ให้สามารถเป็นผู้ประเมินภายนอกและทำการประเมินภายนอกได้
6) มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับความมุ่งหมาย หลักการ แนวการจัดการศึกษา
การจัดกระบวนการเรียนรู้ ระบบการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบ
7) มีความรู้
และมีทักษะด้านการประเมินผล ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
การสรุปและให้ข้อเสนอแนะ และการเขียนรายงาน
8) มีทักษะในการสื่อสารด้วยวาจา
9) มีทักษะในการคิดวิเคราะห์
รอบคอบและสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
10) มีบุคลิกภาพ
สุภาพเรียบร้อย
11) มีเจตคติที่ดีต่อสถานศึกษา
เป็นกัลยาณมิตร
มีเจตคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นและมีความสามารถในการประสานงาน
ผู้ประเมินต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
1) เป็นผู้มีกายพิการหรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการเป็นผู้ประเมินภายนอก
2) เป็นบุคคลล้มละลาย
คนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
3) อยู่ในระหว่างลงโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
4) เคยได้รับโทษจำคุก
โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
5) ในกรณีของผู้ที่เคยรับราชการต้องไม่เคยได้รับโทษทางวินัยอย่างร้ายแรง
-
คุณสมบัติเฉพาะ
1) สำเร็จหลักสูตรการฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอกของสำนักงาน
ผ่านการทดสอบและการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด
และได้รับการรับรองให้เป็นผู้ประเมินภายนอก
2) มีคุณสมบัติอื่น
ๆ ตามที่สำนักงานกำหนด
-
จรรยาบรรณของผู้ประเมินภายนอก
ผู้ประเมินภายนอกต้องปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ
โปร่งใส ตรวจสอบได้โดยยึดจรรยาบรรณต่อไปนี้เป็นหลัก
1) มีความเที่ยงตรง
เป็นกลาง โปร่งใส
มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้รายงานสิ่งที่ค้นพบตามความเป็นจริงอย่างชัดเจน
มีเหตุผล มีหลักฐานสนับสนุนและมีความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่ยอมให้อิทธิพลใดเบี่ยงเบนผลการประเมินให้ผิดไปจากความเป็นจริง
การรายงานโดยปกปิดข้อความซึ่งควรต้องแจ้ง ถือเป็นการรายงานเท็จด้วย
2) ต้องไม่ประพฤติให้เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงของตนหรือแก่ชื่อเสียงของสำนักงาน
3) รักษาความลับของข้อมูลสารสนเทศส่วนบุคคลและสถานศึกษาที่ได้รับระหว่างการตรวจเยี่ยมและการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างเคร่งครัด
4) ไม่รับและไม่เรียกร้องในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
เช่น ไม่รับอามิสสินจ้าง รางวัล ของขวัญ ของกำนัล การต้อนรับ
การรับรองและการอำนวยความสะดวกจากสถานศึกษาที่เกินความจำเป็น
5) ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตัวเองหรือผู้อื่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมโดยใช้ข้อมูลใด
ๆ ซึ่งสำนักงานยังไม่ได้เผยแพร่ต่อสาธารณะ และไม่ดำเนินการใด ๆ
ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ต่อสำนักงาน
6) ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ตามมาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกที่สำนักงานกำหนด
7) ผู้ประเมินภายนอกต้องไม่นำบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณภาพภายนอกเข้าไปในสถานศึกษาที่ทำการประเมิน
8) ผู้ประเมินต้องไม่เป็นที่ปรึกษาหรือวิทยากรให้กับสถานศึกษาเนื่องจากอาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
-
บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินภายนอก
ในการประเมินคุณภาพภายนอก
ผู้ประเมินภายนอกจะต้องปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพโดยยึดถือบทบาทในลักษณะ
“เพื่อนร่วมวิชาชีพ” และเป็น “กัลยาณมิตร”
กับสถานศึกษาและชุมชนที่ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้จากกันและกัน
หน้าที่สำคัญของคณะผู้ประเมินภายนอก มีดังนี้
1) ตรวจเยี่ยมสถานศึกษา
สร้างความเข้าใจและเจตคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพ
ให้กับบุคลากรของสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง
2) รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบหลักฐานข้อมูลเพื่อยืนยันสภาพความเป็นจริงในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามที่สถานศึกษาได้รายงานไว้ในรายงานการประเมินตนเอง
และตามหลักฐานที่สะท้อนสภาพความเป็นจริงที่ไม่ได้อยู่ในรายงานการประเมินตนเอง
3) ตรวจสอบกระบวนการและวิธีการที่สถานศึกษาใช้ในการได้มาซึ่งข้อมูลรวมทั้งหลักฐานที่ระบุในรายงานการประเมินตนเองมีความเหมาะสม
ครอบคลุม และน่าเชื่อถือเพียงใด
4) ตรวจสอบผลการพัฒนาเทียบเคียงกับเป้าหมาย/แผนพัฒนาของสถานศึกษาและมาตรฐานการศึกษาที่
สมศ. กำหนดเพื่อการประเมินภายนอก รวมทั้งตรวจสอบเป้าหมาย/แผนพัฒนาที่สถานศึกษาจะดำเนินการต่อไป
เพื่อดูความสอดคล้องกับผลการประเมิน
5) ประมวล
วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานประเมินภายนอก
พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะแก่สถานศึกษา
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
6) รายงานผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาต่อ
สมศ.
การติดตามประเมินผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สมศ.
มีการควบคุมคุณภาพของผู้ประเมินหลายกระบวนการด้วยกัน
นับตั้งแต่การให้ใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินภายนอก สมศ. มีมาตรการควบคุม
โดยกำหนดระยะเวลาการเป็นผู้ประเมินภายนอก 3 ปี
หากผู้ประเมินภายนอกมีความประพฤติ หรือปฏิบัติผิดจรรยาบรรณตามเกณฑ์ที่ สมศ.
กำหนดในขั้นแรกจะเป็นการกล่าวตักเตือนในเบื้องต้น ขั้นต่อมาเป็นการถอดถอนใบอนุญาต
ซึ่งไม่สามารถเป็นผู้ประเมินภายนอกได้อีก
แนวทางในการควบคุมซึ่งเป็นแนวทางที่คู่ขนานมาด้วยกันก็คือการควบคุมโดยการประเมินจากสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินภายนอกแล้วรวมถึงการควบคุมที่ได้รับความร่วมมือจากวุฒิอาสาจากโครงการคลังสมองในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ
ร่วมกับคณะกรรมการตรวจสอบประเมินผลเป็นผู้ร่วมติดตามประเมินผู้ประเมินภายนอก
นอกจากนี้ในการควบคุม คุณภาพของผู้ประเมินภายนอก สมศ.
ได้ให้การสนับสุนนหน่วยประเมินภายนอกให้มีระบบการติดตามของหน่วยประเมินภายนอกเองด้วย
เพื่อให้มีมาตรฐานสมดังเจตนารมณ์ที่หน่วยประเมินภายนอกจะต้องมีระบบการพัฒนาผู้ประเมินภายนอกของหน่วยประเมินเอง
ผู้ประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สมศ.
ได้เริ่มกระบวนการคัดเลือกผู้ประเมินภายนอกโดยวิธีการจัดให้มีการฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอก
โดยประเภทของผู้ประเมินภายนอกในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 3 ประเภทด้วยกัน คือ
- ประเภทที่ 1 ประเภทนิติบุคคล กระบวนการในการคัดเลือกผู้ประเมินภายนอกประเภทที่ 1 สมศ. มีคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาคุณสมบัติ
ในเบื้องต้นแล้วดำเนินการสอบคัดเลือกเข้ารับการฝึกอบรม
ผู้ที่จะผ่านการอบรมและได้รับการรับรองจาก สมศ. ต้องผ่านเกณฑ์ในการพิจารณา 5 ข้อด้วยกัน คือ
1. เวลาในการเข้ารับการอบรมเต็มเวลา
2. สอบได้คะแนนตามหลักสูตรการอบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ
60
3. มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
4. มีความสามารถในการทำงานเป็นทีมและมีมนุษยสัมพันธ์ดี
5. เป็นผู้ที่มีความสามารถประเมินสถานศึกษาได้ตรงสภาพจริงและจัดทำรายงานประเมินผลตามรูปแบบที่กำหนดและมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าระดับดี
- ประเภทที่ 2 ประเภทคณะบุคคล อยู่ในระหว่างการพิจารณาระบบ
คุณสมบัติและเกณฑ์ในการคัดเลือก
- ประเภทที่ 3 สถาบันอุดมศึกษา ผู้ประเมินที่มาจากสถาบันอุดมศึกษา สมศ.
ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ทั่วประเทศ
การแจ้งความจำนงของสถานศึกษาเพื่อขอรับการประเมินภายนอก
สถานศึกษาที่จัดทำรายงานการประเมินตนเองแล้ว
สามารถจัดส่งรายงานการประเมินตนเองไปยังหน่วยงานต้นสังกัด และสำเนาส่ง สมศ. จำนวน 2 ชุด เพื่อแจ้งความจำนงขอรับการประเมินภายนอกจาก สมศ. ได้ทันที
การแจ้งความจำนงของสถานศึกษาเพื่อขอรับการประเมินภายนอก
การประเมินสถานศึกษา
สำหรับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมศ.
มีการจัดสรรสถานศึกษาให้หน่วยประเมินภายนอกเป็นระบบ โดยใช้ Computer ในการจัดสรรสถานศึกษา
และมีคณะอนุกรรมการพิจารณาแผนการประเมินของหน่วยประเมินอย่างเป็นระบบก่อนที่จะดำเนินการจัดสรรสถานศึกษาให้กับหน่วยประเมินในแต่ละแห่งอย่างโปร่งใส
และยุติธรรม นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาและสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์
เพื่อการจัดเก็บข้อมูลหน่วยประเมินข้อมูลผู้ประเมินภายนอก
ให้สามารถสืบค้นและประมวลผลข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น