บทที่ 8
การประเมินอิงมาตรฐาน
(Standard Based Assessment)
S : การประเมินอิงมาตรฐาน
(Standard Based Assessment ) การประเมินคุณภาพการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยใช้แนวคิดพื้นฐาน
โครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้ (Structure of Observed Learning
Outcomes) รวมถึง มาตรฐานการประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานมีความสําคัญอย่างยิ่งในชั้นเรียน
มาตรฐานเป็นตัวกระตุ้นการสอนที่ประสบผลดีที่สุด
สําหรับผู้สอนที่มีความสามารถสูงสุด เมื่อผู้สอนมองการสอนเทียบกับมาตรฐานจะพบว่า
การสอนตอบสนอง ต่อมาตรฐาน เพื่อความชัดเจนผู้สอนต้องตอบคําถามเรื่องการเรียนการสอนกับมาตรฐาน
ดังนี้
ใครกําลังสอนมาตรฐานใด
เพื่อตอบคําถามว่า ใครสอนมาตรฐานอะไร ไม่ใช่ ใครสอนหัวข้อใด
ใครประเมินผลมาตรฐานใดบ้าง
โดยวิธีใด เพื่อตอบคําถามว่า ใครประเมินมาตรฐานใด โดยวิธีใด
การนํามาตรฐานมาใช้เพื่อกําหนดว่าเนื้อหาและทักษะใดสัมพันธ์กับมาตรฐานใด
แต่การเชื่อมโยง ระหว่างเนื้อหาและทักษะกับมาตรฐานอาจไม่เพียงพอ
ส่งผลให้มาตรฐานบางอย่างถูกละเลย เมื่อมีข้อมูลว่า
มาตรฐานใดบ้างที่จะนํามาใช้ในการสอนและการประเมินผลแล้ว
ก็จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าควรจะสอนและ ประเมินผลอะไรในระดับชั้นใด และวิชาใด
โดยวิธีใด สามารถระบุได้ชัดเจนว่ามาตรฐานได้นํามาใช้ในการ
สอนและการประเมินผลอย่างไร
การเริ่มต้นด้วยมาตรฐานในการสอนและการประเมินผลที่ใช้อยู่ในชั้นเรียน
หรือรายวิชานั้น ๆ เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด
จากนั้นจึงเคลื่อนไปสู่มาตรฐานที่ยังไม่ได้สอนหรือการประเมินผล ต่อไป
และขั้นตอนสุดท้ายเป็นการทบทวนเพื่อตัดสินใจ/ตอบคําถามดังต่อไปนี้
แผนจัดการเรียนรู้นี้ดีที่สุดหรือไม่
ถ้าไม่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องใดบ้าง มีสง" ที่ถูกมองข้ามไปหรือมีมากเกินไป
ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเพียงพอ
และแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับมาตรฐานหรือ
สอนแต่ละมาตรฐานบ่อยๆมากเพียงพอที่จะทําให้เกิดการเรียนรู้ที่ลุ่มลึกขึ้นหรือไม่
มาตรฐานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องต่อความคาดหวังเพื่อการเรียนรู้
มาตรฐานทําให้เกิดโครงสร้างซึ่งนําไปสร้างเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบและลุ่มลึก
ระดับชาติ และระดับท้องถิ่น เป็นแหล่งวิทยาการที่สําคัญสําหรับผู้สอน
คําถามที่ผู้สอนจะต้องหา คือ
มาตรฐานใดบ้างที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทุกมาตรฐานหรือไม่
การนําเสนอมาตรฐานอยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์
และผู้สอนสามารถนําไปใช้ได้หรือไม่
สานไปใช้ในชั้นเรียนและโรงเรียนทั่วทั้งเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างไร
การประเมินผลและการนิเทศ
Carr, Judy F and Harris,
Douglas E. (2001 : 153) กล่าวสรุปไว้ว่า การพัฒนาวิชาชีพ
การนิเทศและการประเมินผล มีจุดหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการเรียนรู้ตามมาตรฐาน
และได้นําเสนอหลักการ ในการพัฒนาด้านวิชาชีพที่อิงมาตรฐาน 7 ประการ
ดังนี้
หลักการที่ 1 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพเกิดจากภาพลักษณ์ที่ดีด้านการเรียน
การพัฒนาวิชาชีพตามระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน มีคําถามที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะบรรลุมาตรฐาน
การสอนดังต่อไปนี้
ใครจะรับผิดชอบมาตรฐานใด
แนวทางการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไร
ในชั้นเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีบทบาทอย่างไร
ระดับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังควรตั้งไว้เท่าใด
ใช้เกณฑ์ใดในการกําหนดผลสัมฤทธิ์ของ มาตรฐาน และจะประเมินมาตรฐานอย่างไร
ใช้ข้อมูลใดบ่งบอกว่าบรรลุมาตรฐาน
และอะไรบ้างที่นําไปใช้ในการเรียนการสอน
หลักการที่ 2 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพให้โอกาสผู้สอนได้สร้างองค์ความรู้
และทักษะของตนเอง เป้าหมายของการวางแผนการสอน มีขอบข่ายเนื้อหาที่จะปรับปรุงผลการเรียนรู้ของ
ผู้เรียนอย่างชัดเจน โดยเชื่อมโยงลําดับความสําคัญของการพัฒนาวิชาชีพกับแผนการสอน
กรณีตัวอย่าง สถานศึกษากําหนดแผนการพัฒนาประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประเด็น คือ การวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียน รอคทาแฟ้มสะสมงาน
และการพัฒนาวิธีการวัดผลหลังจบหลักสูตร
ในแต่ละประเด็นเน้นการพัฒนาสามารถของผู้สอนในด้านการสอนและประเมินการแก้ปัญหา
โดยเปิดโอกาสให้จัดทําแผนพัฒนาวิชาชีพระยะยาวที่ผู้สอนจะใช้กับผู้เรียน
การสร้างตัวแบบ ตามมาตรฐาน การกําหนดโครงการพัฒน
ผู้เรียนเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาครู ครู” นําไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียน
ความต้องการของนักเรียน ซึ่งตา มาตรฐานเป็นเกณฑ์
หลักการที่ 3 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพใช้หรือเป็นตัวแบบกลยุทธ์การสอน
3ยน
การสร้างตัวแบบเริ่มโดยเน้นที่มาตรฐาน โดยคาดหวังว่าผู้สอนจะต้องสอนให้เป็นไป
"หนดโครงการพัฒนาวิชาชีพจึงต้องยึดมาตรฐาน ตัวอย่างเช่น
การใช้ผลการเรียนรู้ของการพัฒนาครู
ครูต้องร่วมกันวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของนักเรียน ทบทวนสิ่งที่
ผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน รวมทั้งศึกษาวิจัยเนื้อหาสาระและวิธีการสอนตาม
"กรของนักเรียน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นการปฏิบัติการสอนที่ดีที่สุดในชั้นเรียนที่ยึดมาตรฐานเป็นเกณฑ์
หลักการที่ 4 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างชุมชนแล
าคัญของระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐานสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ได้ดังนี้
มาตรฐานเน้นการเรียนรู้สําหรับผู้เรียนทุกคนและทุกวัย
ผู้เรียนทุกคนสรรค์สร้างการเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้
ผู้เรียนเรียนรู้จากผู้อื่นและเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้โดยการค้นคว้าและการฝึกคิด
การประเมินผล
ก่อให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้
หลักการที่ 5 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมครูให้มีบทบาทส.
9. กล่าวคือ ครูต้องมีภาวะความเป็นผู้นําในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน
บทบาทผู้นําอย่างเป็นทางการของ คือบทบาทเป็นผู้ให้คําปรึกษา
ครูควรเป็นผู้ตัดสินใจในการคัดเลือกทีมงานวางแผนการสอน คัดเลือกเนื้อหา
โดยเน้นผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูควรเป็นผู้นําในการกําหนดมาตรฐาน กําหนดกลยุทธการสอนและการ
ประเมินผลและวิเคราะห์ผลงานของนักเรียน
หลักการที่ 6 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพสร้างความเชื่อมโยงกับหน่วย
การศึกษาอื่น การเชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน คือ วิธีการดําเนินงานที่เป็นระบบ
ฉะนั้นองค์ประกอบและการ ตัดสินใจล้วนส่งผลต่อส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
หลักการที่ 7 ประสบการณ์การพัฒนาวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพต้องประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในระบบที่เชื่อมโยงด้วยมาตรฐาน ความมีประสิทธิผลวัดได้จากพัฒนาการของนักเรียน
ความมีป รวมถึงความเป็นเลิศทางวิชาการของนักเรียนทุกคน
และความเสมอภาค(ลดช่องว่างผลสัมฤทธิ ที่แตกต ระหว่างผู้เรียน) หรือทั้งสองอย่าง
กระบวนการวางแผนการสอนจะต้องพิจารณาความก้าวหน้าของนก
อย่างต่อเนื่องและปรับปรุงโดยใช้ผลการเรียนรู้ของนักเรียน
หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน
(How to Use Standards in
the Classroom)
การเชื่อมโยงมาตรฐานการเรียนรู้กับหลักสูตรเป็นสิ่งสําคัญ
การเชื่อมโยงมาตรฐาน ระดับชาติ มาตรฐานการเรียนรู้และท้องถิ่น
ไปสู่เป้าหมายการเรียนการสอนของนักเรียน Douglas E and Car, Judy F (1996 : 18) ได้นําเสนอแผนภูมิแสดงความสอดคล้องเชื่อมโยงของหา
เรียนการสอน และการประเมินแบบอิงมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังแผนภาพประกอบที่ 11
ภาพประกอบที่ 11 หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน
ที่มา Harris, Douglas E and Car, Judy F (1996) หลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติสู่ชั้นเรียน
จากแผนภาพประกอบ
สรุปได้ว่า
กรอบหลักสูตรมลรัฐเชื่อมโยงและสะท้อนสิ่งที่พึงประสงค์ในมาตรฐานการเรียนรู้ระดับชาติ
หลักสูตรและการประเมินระดับท้องถิ่นและโรงเรียน
สะท้อนถึงมาตรฐานที่กําหนดในกรอบ หลักสูตรมลรัฐ
กิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียน
เชื่อมโยงและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้มล รัฐ
หลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรสถานศึกษา
ในขณะเดียวกันก็ต้องสนองตอบความสนใจและความต้องการ ของนักเรียน และชุมชน
ด้วยเหตุผลดังกล่าวกิจกรรมการเรียนการสอนและหน่วยการเรียน จึงควรสร้างจาก
แหล่งข้อมูลของท้องถิ่น หรือเหตุการณ์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในท้องถิ่น
การประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนทั้งในระดับชั้นเรียน ท้องถิ่น และมลรัฐ
ควรใช้ข้อมูลจากผลงานและการอุบัติงานของนักเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละหน่วยการเรียน
เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จะบอกได้อย่างดีว่าผล -
การเรียนของนักเรียนถึงมาตรฐานหรือไม่
มาตรฐานสู่ความสําเร็จ :
หลักสูตร การประเมินผล และแผนปฏิบัติการ
เมื่อโรงเรียนหรือสถานศึกษาได้ใช้มาตรฐานใดแล้ว
ทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจ ของโรงเรียนคืออะไร และจะนําไปใช้อย่างไร
คณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องใช้แผนด เกี่ยวข้องกับขั้นตอนสําคัญ คือ การประเมินสภาพปัจจุบันของหลักสูตร
การเรียนการสอน และการ สอดคล้องกับมาตรฐาน
การได้ข้อมูลว่ามาตรฐานใดบ้างที่จะนํามาจัดการเรียนการสอนและการ
และนักเรียนจะบรรลุมาตรฐานตามที่ระบุไว้ในวิสัยทัศน์นั้น จะต้องเตรียมวิธีปฏิบัติ
กระบวน หลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ให้พร้อม การตัดสินใจว่าจะสอนและประเมินมาตรฐานใด
จะ มาตรฐานดังกล่าวในระดับชั้นใด รายวิชาใด สิ่งเหล่านี้คณะกรรมการวิชาการ
จะต้องกําหนดขอบข่ายโองะ ฐานข้อมูลว่าใครจะสอนและประเมินมาตรฐานใด
และจําเป็นต้องมีการทบทวนแผนว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ เหมาะสมหรือไม่
จุดเน้นของหลักสูตรสถานศึกษาเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ได้กําหนดไว้ คําถามเดิม
ที่ว่า ใครสอนหัวข้อใด หรือ ครูจะใช้สื่อการสอนอะไร จะถูกปรับเปลี่ยนเป็น
ใครสอนมาตรฐานอะไร การ เรียนการสอนใช้รูปแบบใด และใครประเมินมาตรฐานใด โดยวิธีใด
เป็นต้น
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและแผนการประเมิน
Carr, Judy F and Harris,
Douglas E (2001 : 45 - 49)เสนอคําถามที่เกี่ยวข้องคือ
จะสร้างการประเมินระดับชั้นเรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างไร ซึ่งการ
ประเมินชั้นเรียนไม่ได้เป็นเพียงการทดสอบ การวัด หรือการให้คะแนน
แต่การประเมินเป็นบูรณาการของ การสอน เป็นกระบวนการของการวัดปริมาณ การอธิบาย
การรวบรวมข้อมูลหรือการให้ผลป้อนกับเกี่ยวกับ การเรียนรู้
เพื่อให้รู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการประเมินชั้นเรียนโดยใช้มาตรฐาน ดังนี้ เป็นฐานคือ
บอกให้รู้เกี่ยวกับการสอนและการปรับปรุงการเรียนรู้ ยิ่งไปกว่านั้นการประเมินยังสะท้อนสิ่งต่างๆ
ให้แนวทางเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงการศึกษา
ชี้ให้เห็นความสําเร็จของนักเรียนแต่ละคน หลักสูตรเฉพาะและการปฏิบัติในสถานศึก
ชี้ให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้และทักษะแบบบูรณาการตลอดหลักสูตรหรือไม่
เสนอวิธีการและข้อมูลเพื่อสื่อถึงผลการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ
การประเมินประสิทธิผลของชั้นเรียนต้องกระทําอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กับ
ขณะนั้น รวมทั้งมีลักษณะรวบยอดแต่ละองค์ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของระบบทั้งหมด
คํานึงลง เดียวกันหรือข้ามหลักสูตร ของผู้เรียนกลุ่มต่างๆ และคํานึงถึงจุดดีและปัญหาต่าง
ๆ ของนักเรียน) ตรวจสอบผลลัพธ์ท "
มีลักษณะหลากหลาย
(หลากหลายแง่มุมและยืดหยุ่นได้ เหมาะสมทั้งด้าน วัดเนธรรม
คํานึงถึงรูปแบบการเรียนรู้และพหุปัญญา ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเอง)
เชื่อถือได้เชิงเทคนิค
(มีความต่อเนื่องและกระทําติดต่อกัน แม่นตรงและเชื่อถือได้ และรายงานอย่าง
ถูกต้อง)
การวางแผนการประเมินต้องมองตัวเลือกที่คํานึงถึงว่าการการประเมินต้องมองในมุมกว้าง
แผนการประเมินคือเครื่องมือออกแบบหรือชุดของสงของนักเรียนจะได้รับการประเมินให้สัมพันธ์กับมาตรฐานได้อย่างไร
การใช้แผนการประเมินนี้ทําให้มั่นใจได้ว่า
ผลป้อนกลับจากการนําแผนการประเมินไปใช้
จะชี้แนะกระบวนการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการ
เรียนการสอน
นักเรียนมีโอกาสหลากหลายที่จะแสดงผลสําเร็จตามมาตรฐานที่กําหนดไว้
นักเรียนให้คําตอบที่สรรค์สร้างเองได้หลายแบบ
เช่น ผลงาน รายงานที่เขียน ภาพ หุ่นจําลอง แผนที่) การปฏิบัติ กิจกรรม การสืบค้น
การสัมภาษณ์ การแสดงละคร) การตอบสนองของนักเรียนหลายแบบ บอกให้รัพหุปัญญา
และจุดแข็งต่าง ๆ ของนักเรียนแต่ละคน การประเมินด้วยคําตอบแบบเลือกตอบและการ
ตอบแบบสั้นมักเป็นส่วนหนึ่งของแผนการประเมินนี้
แนวการให้คะแนนแบบต่าง ๆ
ใช้เพื่อกําหนดผลป้อนกลับด้านการเรียนรู้ของนักเรียน
การประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 มาตรา
48 “ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา
จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน
เป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง”
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน
จในระดับอุดมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
1. การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
(ASEAN Cooperation Initiative in Quality
Assurance)
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้างของหลักสูตร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียน surance - AUN-QA) ที่ตระหนักถึงความสําคัญของประกันคุณภาพการศึกษาในบน
ในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพแบบองค์รวมเพื่อยกระดับมาตรฐาน เลยเนเครือข่าย AUN
เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network (AUN
Quality Assurance ระดับอุดมศึกษาและความการศึกษา
ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย (AUN Quality Assurance - AUN-QA) เป็นกลไกการ มาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน
การรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสี
กําหนดไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับ
ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรอง ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ ASEAN University Network Quality Assurance:
AUN-QA โดยมีเกอง 11 หมวด ได้แก่
1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
2. ข้อกําหนดหลักสูตร
3. โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
4. แนวทางการสอนและการเรียนรู้
5. การประเมินผลนักศึกษา
6. คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
7. คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
8. คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
9. สิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
10. การเพิ่มคุณภาพ
11. ผลผลิต
มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN ได้มีการนําเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา
ระดับหลักสูตร (AUN-QA Assessment) โดยหลักสูตรที่มีความพร้อม
มหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดยAUN-QA ต่อไป
2. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สํานักทดสอบทางการศึกษา
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ศึกษาและพัฒนา การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการศึกษามือมาธิการได้ประกาศเป็นกฎกระทรวง กําหนด
ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารการดําเนินงานตามระบบดังกล่าว ได้แก่
1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2. แนวทางการจัดทําระบบสารสนเทศสถานศึกษา
3. แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
4. แนวทางการจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
6. แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจําปีของสถานศึกษา
7. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดยเขตพื้นที่ การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
: กรอบและแนวการดําเนินงาน เขียนแสดง ความสัมพันธ์ได้ดังภาพประกอบที่ 13
3. การประเมินคุณภาพภายนอก
ประเมินภายนอก คือ
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การการศึกษาของสถานศึกษา
ซึ่งกระทําโดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)
(สมศ.) หรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก สมศ.
เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
ความสําคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
ประเมินคุณภาพภายนอก
มีความสําคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
ดังต่อไปนี้ (สํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน),2550)
1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน
และพัฒนาตนเอง ให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
2. เพิ่มความมั่นใจ
และคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจ ได้ว่า
สภานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็น- คนดี
มีความสามารถ และ มีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กํากับดูแล
เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้น สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วย
ตัดสินใจในการวางแผน
และดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่
ต้องการและบรรลุเป้าหมาย ตามที่กําหนด
4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสําคัญในภาพรวมเกี่ยวกับ
คุณภาพและ
มาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายทางการศึกษาและ
การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน) ww.onesqa.or.th/th/index.php
กําหนดหลักการสําคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งมีหลักการ สําคัญ
5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง
เป็นธรรม โปร่งใส
มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (aaountability)
3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกํากับควบคุม
4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกรจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา
ของชาติตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคง ความหลากหลายในทางปฏิบัติ
โดยสถาบันสามารถกําหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้
เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน
วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก
มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (สํานักงานรับรอง- มาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน), 2550)
1. เพื่อตรวจสอบ
ยืนยันสภาพจริงในการดําเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมิน
คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กําหนด
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น
จุดที่ควรพัฒนาของ สถานศึกษา สาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสําเร็จ
3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่
สถานศึกษา และ หน่วยงานต้นสังกัด
4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ
และประกันคุณภาพภายใน อย่าง ต่อเนื่อง
5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพ
และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึง
บุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดและได้รับการ รับรอง จากสมศ.
ให้ทําการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่
เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสําหรับการส่งเสริม
กํากับดูแลมาตรฐานการศึกษา
คือข้อกําหนดเกี่ยวกับคณลักษต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคีย
ตรวจสอบประเมินผล และ
การประกันคุณภาพการศึกษา
4. การประเมินคุณภาพภายใน
Clark (2005 : 2) กล่าวว่า
การประเมินคุณภาพภายใน โปรแกรมการเรียนการสอน (internal evaluation) ประเมินที่นําไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดําเนินการ
การ ๑. เป็นที่กระบวนการ (process) การประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและเพื่อการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นเมื่อนําไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไป ในการประเมิน
ปรับรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน โดยกําหนดจุดมุ่งหมายคือ
การจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียน
การสอนนั้นประสบผลสําเร็จตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่อง
เพื่อตรวจสอบว่า การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นพัฒนาผู้เรียนได้จริง
ถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียน การสอนคล้าย ๆ กัน
อาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตาม
จุดมุ่งหมาย ดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดําเนินการได้ทันท่วงที
การ ประเมินนี้จึงมีบทบาทสําคัญต่อความสําเร็จของการจัดการเรียนการสอน เคมพ์ (Kemp
: 1971) เสนอแนะการ ประเมินไว้ดังนี้
1. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ผู้เรียนมี ข้อบกพร่องใดบ้าง
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้
หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ ผู้เรียนมี ข้อบกพร่องใดบ้าง
3. ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใด
เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ และเป็นที่ยอมรับของผู้สอน หรือไม่
4. กิจกรรมต่าง
ๆ เหมาะสมสําหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
5. วัสดุต่าง
ๆ สะดวกและง่ายต่อการติดตั้ง การหยิบ การใช้ หรือการเก็บรักษาหรือไม่
6. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอน
กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ และวิธีการประเมินผล
อย่างไรบ้าง
7.
ข้อสอบการประเมินตนเอง และข้อสอบหลังจากเรียนแล้ว
ใช้วัดจุดมุ่งหมายจากการเรียนได้หรือไม่
8. ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้าง
(เนื้อหา รูปแบบ และอื่น ๆ)
การประเมินคุณภาพภายนอก
Clark (2005 : 2) กล่าวว่า
การประเมินคุณภาพภายนอก (External Evolution) เป็นการประเมินหลังการจัดการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอน
เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอน
ให้ความสำคัญที่ผลลัพธ์ (outcome) โดยสรุปการประเมินเพื่อศึกษาประสิทธิผลของระบบโดยรวม
เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคำถามว่าการเรียนรู้หรือการจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่
ทุเรียนมันรู้จุดหมายและจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่
ผลการดำเนินการมีประสิทธิภาพหรือไม่
การออกแบบการเรียนการสอนตลอดกระบวนการมีขั้นตอนใดที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนบ้าง
เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับผู้ออกแบบการเรียนการสอนได้พัฒนาต่อไป เคมป์ (Kemp,
1971 :)เสนอแนะแนวคิดการประเมินไว้ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายทั้งหมดได้รับการบรรลุผลในระดับใดบ้าง
2. หลังจากการเรียนการสอนผ่านไปแล้ว
การปฏิบัติงานของผู้เรียนที่เกี่ยวกับการใช้ความรู้
ทักษะการสร้างเจตคติมีความเหมาะสมหรือไม่
3. การใช้วัสดุต่างๆ
ถ้าต้องการจัดการสำหรับผู้เรียนจำนวนมากๆ หรือไม่
4. สิ่งอำนวยความสะดวก กำหนดการ รายการนิเทศ
มีความเหมาะสมกับโปรแกรมหรือไม่
5. มีการระวังรักษาการหยิบ
การใช้เครื่องมือและวัสดุต่างๆ หรือไม่
6. วัสดุต่างๆ ที่เคยใช้แล้วถูกนำมาใช้อีกหรือไม่
7. ผู้เรียนมีเจตคติอย่างไรบ้างต่อวิชาเรียน
วิธีการสอน กิจกรรม และเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้สอน แต่ผู้เรียนคนอื่นๆ
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
The Solo taxonomy
The Solo taxonomy เป็นการจัดระดับเพื่อประโยชน์ในการแสดงคุณสมบัติเฉพาะในระดับต่างๆกันขอคำถาม
และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับจากผู้เรียน
เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and Collis
(1982). “SOLO, มาจากคำว่า Structure of Learning Outcome, :
เป็นระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า
ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร
ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงานทางวิชาการ
ดูที่นิยมจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ
เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้ Solo taxonomy ในการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้
Solo taxonomy คือ
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งในโรงเรียนเฉพาะกาล
และการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น แต่ Solo taxonomy เป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญว่าผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้
สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือ
กูจะต้องมีวิธีการสอนอย่างไรที่ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดพัฒนาการมากขึ้น
Solo taxonomy ได้รับการสนับสนุนโดย Biggs และ Collis
The Solo taxonomy เป็นชุดของเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นผลงานของ Biggs and
Collis (1982).“SOLO, มาจากคำว่า Structure of Learning
Outcome, : ถึงระบบที่นำมาช่วยอธิบายว่า
ผู้เรียนมีพัฒนาการการปฏิบัติที่ซับซ้อนอย่างไร
ในการเรียนเพื่อรอบรู้ที่มีความหลากหลายของภาระงานทางวิชาการ
โดยที่นิยมจุดประสงค์ของหลักสูตร ในสภาพที่พึงประสงค์ของการปฏิบัติ เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติได้จริง
การใช้ Solo taxonomy จะช่วยให้ทั้งครูและผู้เรียนตระหนักถึงองค์ประกอบที่หลากหลายจากหลักสูตรได้อย่างแจ่มชัดขึ้น
แนวคิดดังกล่าวถูกนำไปกำหนดเป็นนโยบายใช้ในการประเมินในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
สืบเนื่องจากสามารถนำไปใช้ได้ในหลายสาขาวิชา
การประเมินความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาผู้เรียนในแง่ของความเข้าใจที่ซับซ้อน
ซึ่งความเข้าใจดังกล่าวแบ่งได้เป็น 5 ระดับ (1) ระดับโครงสร้างพื้นฐาน (Pre - structural) (2) ระดับโครงสร้างเดียว
(Unit-structural) (3) ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-
structural) (4) ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง(Relational
Level) (5) ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended
Abstract Level)
โครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์การเรียน Biggs และ Collis เสนอวิธีการไว้ดังต่อไปนี้ 1) กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนปฏิบัติในบทเรียน
(To Set learning objective appropriate to where students should be at a
particulr stage of their program) และ 2) ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
(To assess the learning outcome attaained by each Student) ไม่เขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องมั่นใจว่าคำกริยาที่นำมาใช้เพื่อการประเมินมีความถูกต้องเหมาะสมในแต่ละระดับ
ดังนี้
- ระดับโครงสร้างพื้นฐาน
(pre - structural)นักเรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วนๆ
ที่ไม่ปะติดปะต่อกัน ไม่มีการจัดการข้อมูล และความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
- ระดับโครงสร้างเดียว(
Unit- structural )ทุเรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน
ง่ายต่อการเข้าใจ แต่ไม่แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
- โครงสร้างระดับหลักหลาย(
Mult-structural)ทุเรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกัน
ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
- ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง(Relational
Level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงข้อมูลได้
ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูล และภาพรวมทั้งหมดได้
- ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
(Extended Abstract Level) ทุเรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับ
ผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญ แนะแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
ตารางที่ 24 การจัดระดับ
Solo taxonomy คำถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
การจัดระดับ SOLO
|
คำถามและการตอบสนองที่คาดหวังจากผู้เรียน
|
ระดับโครงสร้างพื้นฐาน
(pre - structural)
|
ผู้เรียนได้รับข้อมูลเป็นส่วนส่วน
ที่ไม่ปะติดปะต่อกันไม่มีการจัดการข้อมูล ความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
|
ระดับโครงสร้างเดียว( Unit- structural )
|
ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐาน
ง่ายต่อการเข้าใจไม่แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงของข้อมูล
|
โครงสร้างระดับหลักหลาย(
Mult-structural)
|
ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลายๆ
ชนิดเข้าด้วยกันความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงของข้อมูลไม่ปรากฏ
|
ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง(Relational Level)
|
ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลได้นักเรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูลและภาพรวมทั้งหมดได้
|
ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย
(Extended Abstract
Level)
|
นักเรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวข้อเรื่องที่ได้รับ
ผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญ
และแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
|
เพื่อความเข้าใจในการทำมโนทัศน์ Solo taxonomy ไปใช้ บิกส์ ได้สรุปดังตารางที่ 25
ตารางที่ 25 ระดับของความเข้าใจ
ระยะของการเรียนรู้ และคำกิริยาที่ใช้
ระดับของความเข้าใจที่นักเรียนแสดงออกในการเรียนรู้
|
ระยะของการเรียนรู้
|
คำกริยาที่ใช้
|
ระดับความต่อเนื่องภาคขยาย()
- สามารถสร้างเป็นความคิดเชิงมโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียนได้
- สามารถสรุปอ้างอิง()ไปยังเนื้อหาใหม่ๆ
ได้
|
ระยะเชิงคุณภาพ
ลักษณะ /
พฤติกรรมของการตอบสนองจากการเรียนรู้ของนักเรียนมีการบูรณา()การสู่แผนเชิงโครงสร้าง
()
|
- สร้างทฤษฎี
- สรุปอ้างอิง
- ตั้งสมมติฐาน
- สะท้อน
- สร้างขึ้น
|
ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง
()
- พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นถึงการจัดการระหว่างความจริงและทฤษฎีพฤติกรรมและจุดมุ่งหมาย
- มีความเข้าใจในหลายๆ
เนื้อหา/องค์ประกอบย่อยๆ ซึ่งสามารถบูรณาการมาเป็นมโนทัศน์
- สามารถนำมโนทัศน์ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาอื่นๆ
ที่คล้ายคลึงกันหรือการปฏิบัติงาน
|
- เปรียบเทียบ/
ระบุความแตกต่าง
- อธิบายเชิงเหตุผล
- บูรณาการ
- วิเคราะห์
- แสดงความสัมพันธ์
- นำไปใช้
|
|
ระดับโครงสร้างหลากหลาย
- พฤติกรรมที่แสดงออกชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจที่กว้างขวางมากขึ้น
แต่ยังไม่เป็นระบบ
- ความเข้าใจเฉพาะเนื้อหา
/ องค์ประกอบย่อยๆ เท่านั้น
- ไม่สามารถจัดระบบของการรวบรวมความคิดหรือมโนทัศน์ของเนื้อหา/ประเด็นต่างๆได้
- ไม่สามารถแสดงความสัมพันธ์ของรายการย่อยกับข้อรายการทั้งหมด
|
ระยะเชิงปริมาณ
รายละเอียดของการตอบสนองที่เกิดจากการเรียนรู้ของนักเรียนมีปริมาณที่เพิ่มขึ้น
|
- แจงนับ
ยกตัวอย่าง
- จำแนกแยกแยะ
- อธิบาย
- ลงรายการ
- เชื่อมโยง
- ให้ทำตามลำดับขั้นตอน
|
ระดับโครงสร้างเดี่ยว
- พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นรูปประธรรม
ความเข้าใจเนื้อหาเพียงเล็กน้อย
- เน้นเฉพาะเนื้อหา
/ ประเด็นที่มีความคิดรวบยอดเพียงเรื่องเดียว
|
- ระบุ
- จำ
- ให้ทำตามขั้นตอนง่ายๆ
|
|
ระดับโครงสร้างพื้นฐาน
พฤติกรรมที่แสดงขาดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา/ประเด็น
|
ถ้าจุดสำคัญ/ประเด็นสำคัญ
|
ตารางที่ 26 ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับ Solo
taxonomy
Solo taxonomy มีความเหมาะสมกับการวัดสมรรถนะ
|
Biggs and Collis 1982
|
ความเป็นอิสระในบริบทของการทำแผนภาพSOLO
(แต่ละสมรรถนะเราตรวจสอบได้จากจุดมุ่งหมายต่างๆ)
|
การสรุปแนวคิด/ผลโดยประมาณ
|
ความเป็นอิสระ
(ข้อจำกัดของเราคือ
บริบทของศาสตร์/วิชาการ)
|
การสรุปแนวคิด/ผลโดยประมาณ
|
ข้อสมมติฐานเกี่ยวกับการให้น้ำหนักที่เท่ากัน
(สมรรถนะจุดมุ่งหมายและหลายจุดมุ่งหมายในหลักสูตรกำหนดน้ำหนักเท่ากัน)
|
การสรุปแนวคิด/ผลโดยประมาณ
|
ผลลัพธ์:
ความมุ่งมั่น/เจตนา->วางนโยบายและแผนการ->ผลสัมฤทธิ์
(เรา
วิเคราะห์นโยบาย/แผนการ แต่ เหตุผล เพื่อ ผลสัมฤทธิ์)
|
การนำไปใช้
|
ประเด็นสำคัญที่พึงระมัดระวังในการใช้ Solo
taxonomy
การปรับใช้ Solo taxonomy กับแนวคิดการสร้างสรรค์องค์ความรู้
ต้องนึกอยู่เสมอว่าปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ มีอยู่มากมาย อาทิ
ในการสอนครูผู้สอนมีวิธีการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้อย่างไร
ครูผู้สอนต้องมีความรู้เกี่ยวกับแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในการเรียนรู้ผู้เรียนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
จะต้องมีสิ่งสนับสนุนอะไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนรู้
การกำหนดระดับคุณภาพของสมรรถนะนี้เป็นการให้ความสำคัญที่การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามความสามารถ
(แทน “สิ่งที่ครูมักพบว่านักเรียนคนนั้น คนนี้ เก่ง/ไม่เก่ง
หรือดี/ ไม่ดี ) และการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเพื่อจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดี
การปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่า
- ทำให้ ILO ชัดเจนยิ่งขึ้น(
ความมุ่งมั่น/ เจตนา (Intended ) การเรียนรู้ (Learning)
ผลผลิต (outcomes)
- การทดสอบสมรรถนะ =>
ILO’s => การสอน
ครูผู้สอนต้องบอกกระบวนการ ILO ในการบรรลุผลการเรียนรู้
ให้นักเรียนได้รับทราบด้วย
Solo taxonomy มีเหมาะสมดีที่นำมาใช้ในการให้เหตุผลในการกําหนดสมรรถนะในหลักสูตรและรายวิชาต่างๆ
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
SOLO 4 : การพูดอภิปราย
สร้างทฤษฎี ทำนายหรือพยากรณ์
SOLO 3 : อธิบาย
เปรียบเทียบ
SOLO 2 :
SOLO 1 :
บทบาทของการสอบ
“การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อน” แนวคิดสำคัญ
ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อต้องการทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน
นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
ทฤษฎีการวางแผน
( ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ(และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ
)
ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิด “การสอบคล้ายกับ “การปรับเปลี่ยนจากความชั่วร้าย
เป็นการสร้างแรงจูงใจ และแนวทางในการเรียนรู้
ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
การจัดลำดับของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม
(Boom taxonomy 1956) เมื่อนำมาสัมพันธ์กันกับแนวคิด Solo
taxonomy ของ Biggs and Collis 1982
SOLO
1 และ 2 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม
ในขั้นความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
SOLO
3 และ 4 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม
ในขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ
ตัวอย่าง การกำหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ระดับ
SOLO 1 หมายถึงการเรียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิม
การเขียนแผนจะยึดตำราเป็นหลัก ทำแบบฝึกหัดตามหนังสือ จัดกิจกรรมซ้ำๆ เดิม
ใช้สื่ออุปกรณ์สำเร็จรูปไม่มีการประเมินการใช้จริง
ระดับ SOLO 2 การปรับประยุกต์ใช้
การนำแผนการสอนที่มีอยู่ให้ดีขึ้นมีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง
(Real World) มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อยคำนึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ
ระดับ
SOLO 3 หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creative-generative)
การเขียนแผนที่คำนึงถึงพฤติกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
จะเขียนแผนแนวทางมหภาค ใช้ผลงานการวิจัยประกอบ
การสอนเน้นมโนทัศน์ของวิชาการนั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
บทบาทของการสอบ
“การสอบไม่ใช่สิ่งที่ตามมาแต่ต้องคิดไว้ก่อน”
แนวคิดสำคัญ
ในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อต้องการทดสอบสมรรถนะหรือผลผลิตของการสอน นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ต่อไปนี้
ทฤษฎีการวางแผน ( ตลอดโปรแกรมของหลักสูตร)
ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจ(และสิ่งที่กระตุ้นแรงจูงใจ )
ทั้งนี้เพื่อปรับเปลี่ยนความคิด “การสอบคล้ายกับ “การปรับเปลี่ยนจากความชั่วร้าย
เป็นการสร้างแรงจูงใจ และแนวทางในการเรียนรู้ ที่เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน
การจัดลำดับของจุดประสงค์การเรียนรู้ของบลูม (Boom taxonomy 1956) เมื่อนำมาสัมพันธ์กันกับแนวคิด
Solo taxonomy ของ Biggs and Collis 1982
SOLO 1 และ
2 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ
SOLO 3 และ
4 สอดคล้องกับแนวคิดของ บลูม ในขั้นการวิเคราะห์ สังเคราะห์
และประเมินค่าข้อมูลเชิงคุณภาพ
ตัวอย่าง การกำหนดค่าระดับคุณภาพการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
ระดับ SOLO 1 หมายถึงการเรียนแบบและคงไว้ซึ่งของเดิม
การเขียนแผนจะยึดตำราเป็นหลัก ทำแบบฝึกหัดตามหนังสือ จัดกิจกรรมซ้ำๆ เดิม
ใช้สื่ออุปกรณ์สำเร็จรูปไม่มีการประเมินการใช้จริง
ระดับ SOLO 2 การปรับประยุกต์ใช้
การนำแผนการสอนที่มีอยู่ให้ดีขึ้นมีการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับโลกแห่งความเป็นจริง
(Real World) มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาเล็กน้อยคำนึงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติ
ระดับ SOLO 3 หมายถึง
การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ (Creative-generative) การเขียนแผนที่คำนึงถึงพฤติกรรมใหม่ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ จะเขียนแผนแนวทางมหภาค ใช้ผลงานการวิจัยประกอบ
การสอนเน้นมโนทัศน์ของวิชาการนั้นๆและบูรณาการแบบข้ามกลุ่มสาระ
การแปลความหมายของค่าเฉลี่ย
ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 หมายความว่า
มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบ The
STUDIES model ระดับต่ำ/ปรับปรุง
ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 หมายความว่า
มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ตามรูปแบบThe
STUDIES model ระดับปาน/กลางพอใช้
ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.00 หมายความว่า
มีความสามารถในการเขียนแผนและการนำแผนจัดการเรียนรู้โดยใช้ตามแบบ The
STUDIES model ระดับสูง/ดี
สรุป
การประเมินอิงมาตรฐานระดับที่มีความสำคัญที่สุด คือ
การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จ โดยดูจากผู้เรียนมีความรู้
และทักษะเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ กล่าวได้ว่า
โปรแกรมการเรียนการสอนมีประสิทธิผลระดับใด อีกประเด็นหนึ่งคือการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด
กล่าวได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพระดับใด
การประเมินคุณภาพภายใน เป็นการประเมินความสำคัญที่กระบวนการ (Process) การประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินในระหว่างจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้และปรับปรุงสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน
ส่วนการประเมินคุณภาพภายนอก เป็นการประเมินที่มุ่งตอบคำถามว่า
การจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้หรือไม่
ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรกำหนดไว้หรือไม่ คำถามหลัก คือ
ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานหลังจากการเรียนการสอนได้หรือไม่
กระบวนการมีขั้นตอนใดที่มีปัญหาอุปสรรค
เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริหารได้พัฒนาในโอกาสต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น