การวัดผลและประเมินผลทางการศึกษามีจุดม่งหมาย
เพื่อรวบรวมรายละเอียดต่างๆ เพื่อแสดง
ความก้าวหน้าตามเป้าหมายของหลักสูตรและเพื่อจุดประสงค์อื่น
ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
จุดมุ่งหมายของการวัดผลแยกเป็นข้อ
ๆ ได้ดังนี้ (ภัทรา นิคมานนท์ 2543 : 20)
1.
เพื่อการจัดตำแหน่ง (Placement) โดยใช้ผลการสอบบอกตำแหน่งของผู้เรียนว่ามีความรู้
ความสามารถอยู่ในระดับใดของกลุ่ม
หรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วอยู่ในระดับใด การใช้แบบสอบเพื่อ
จัดตำแหน่งนี้
ใช้ในวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
1.1 ใช้สำหรับคัดเลือก (Selection) เป็นการใช้ผลการสอบในการตัดสินใจ ในการ
คัดเลือกเพื่อเข้าเรียนต่อ
การเข้าทำงาน การให้ทุน ผลการสอบนี้ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงอันดับที่สำคัญ
1.2 ใช้สำหรับแยกประเภท (Classification)
เป็นการใช้ผลการสอบในการจำแนก
บุคคลเป็นกลุ่ม
เป็นพวก เช่น ใช้ในการตัดสินได้ตก แบ่งพวกเก่งอ่อนด้านใดด้านหนึ่ง พวกที่ผ่าน
เกณฑ์และยังไม่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้
2.
เพื่อการเปรียบเทียบ ( Assessment ) เป็นการประเมินก่อนเริ่มต้นการเรียนการสอน
(Pre-test) ของแต่ละบทเรียนหรือแต่ละหน่วย
เพื่อพิจารณาดูว่าผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการ
เรียนเพียงใด
ซึ่งจะช่วยให้รู้ว่าในระหว่างการเรียนรู้ ผู้เรียนควรมีความรู้เพิ่มอย่างไร
และเป็นการ
พิจารณาดูว่าในการสอนอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพผู้เรียน
อนึ่งหากว่าผลการประเมินผลก่อนเรียน
พบว่า
ผู้เรียนมีพื้นฐานไม่พอเพียงที่จะเรียนในเรื่องที่จะสอน
ก็จำเป็นต้องได้รับการสอนซ่อมเสริมให้
มีพื้นฐานที่พอเพียงเสียก่อนจึงจะเริ่มต้นสอนเนื้อหาในหน่วยการเรียนต่อไปได้
3.
เพื่อการวินิจฉัย ( Diagnosis )เป็นการใช้ผลการสอบเพื่อค้นหาจุดเด่น
จุดด้อยของผู้เรียน
ว่ามีปัญหาในเรื่องอะไร
เพื่อจะนำไปสู่การตัดสินใจแก้ไขปรับปรุงให้ตรงเป้า แบบทดสอบที่ใช้เพื่อการนี้
คือแบบสอบวินิจฉัยการเรียน ( Diagnostic Test ) การนำผลการสอบไปใช้ในการวินิจฉัยการเรียนนี้
มักใช้ในวัตถุประสงค์
2 ประการดังนี้คือ
3.1
เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนหรือประเมินผลย่อย โดยการประเมินผลนี้ใช้ระหว่าง
มีการเรียนการสอน
เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
หากว่าผู้เรียนไม่ผ่านจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
ผู้สอนก็จะหาวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนนั้นมีความรู้ตามเกณฑ์ที่
ตั้งไว้
นอกจากนี้ยังใช้ผลการประเมินเพื่อตรวจสอบตัวผู้สอน เช่น
ผลจากการสอนเนื้อหาเรื่องหนึ่ง
ปรากฏว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ในกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ไม่ผ่าน จุดประสงค์ที่ตั้งไว้
ผู้สอนก็อาจจะตรวจสอบว่าการสอนของตนเองเป็นอย่างไร การอธิบายชัดเจนหรือไม
่
เมื่อผู้สอนตรวจสอบดูแล้วหากพบข้อบกพร่องจุดใดก็แก้ไขตรงตามนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น