บทที่ 7
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
(Evaluation to Improve Teaching)
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน (Evaluation to
Improve Teaching E) การประเมินการเรียนรู้ของตนเอง
โดยกำหนดค่าคะแนนจากการวิเคราะห์การประเมินการเรียนรู้ด้านความรู้ ของบลูม
ตามประเมินสภาพจริงและการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน
เป็นการตรวจสอบการบรรลุจุดหมายการเรียนรู้
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอนมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการทบทวนตนเองหลังสอน
ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนการเรียนการสอน ระหว่างการสอนและหลังการสอนจบบทเรียนแล้ว
การจัดกระบวนการพัฒนาการสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
วงกลมชั้นที่ 1
องค์ประกอบที่มีผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ซึ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อยู่ใจ อศนย์รวมของกิจกรรมทุกอย่างในชั้นเรียนและในโรงเรียน
การเรียนรู้ของผู้เรียนได้รับ พรงจากองค์ประกอบที่อยู่ในวงกลมชั้นที่
ประกอบด้วยหลักสูตระเนื้อหาของสิ่งที่สอน วิธีการ ที่ใช้
และการวัดผล(แบบวินิจฉัย)การเรียนรู้ของผู้เรียน -
(Glucia mars (1998) เสนอแนะว่า ให้ดูจุดศูนย์กลางของวงกลมต่างๆ ที่มีจุดศูนย์กลางร่วมกัน
ศูนย์กลาง เมาส
วงกลมในสุดเป็นความพยายามของชั้นเรียนและโรงเรียนที่จะพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้
มาก่ผู้เรียนทุกคน วงกลมชั้นที่ 1
การเรียนรู้ของผู้เรียนสัมพันธ์กันโดยตรงกับเนื้อหาที่นํามาสอน วิธีการสอน
และกลวิธีที่นํามาใช้ในการประเมิน
วงกลมชั้นที่ 2
องค์ประกอบซึ่งจัดระบบภาระงานของผู้นํา (การเรียนรู้ ที่ทําต่อครูผู้สอน ซึ่งการ
ปรับปรุงการสอนในชั้นเรียนประกอบด้วย จุดมุ่งเน้น
(ต้องใส่ใจในเรื่องใดบ้างในการปรับปรุงการสอน การ สังเกตชั้นเรียน และการใช้ข้อมูล
ผลสัมฤทธิ์ และการพิจารณาตัวอย่างชิ้นงานของผู้เรียน) แนวทางที่จะทํา ร่วมกับครู
และโครงสร้างและรูปแบบ เพื่อจัดระบบภาระงานการปรับปรุงการสอน
จากภาพวงกลมชั้นที่ 2
จุดศูนย์กลางเดียวกันกับวงกลมแรกเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอนในชั้นเรียน
มุ่งที่จุดเน้นที่ผู้สอนกําหนดให้เป็นเป้าหมายการเรียนรู้ ต่อมาพิจารณาแนวทาง-วิธีการดําเนินการระหว่าง
บุคคล(วิธีการสั่งการและควบคุม วิธีการสั่งการและให้ข้อมูล
วิธีการแบบร่วมคิดร่วมทํา และวิธีไม่สั่งการ) ซึ่ง
จะใช้กับครูที่จัดการสอนในชั้นเรียนโดยตรง และโครงสร้างและรูปแบบของวิธีการต่าง ๆ
ได้แก่ การนิเทศ แบบคลินิก เพื่อแนะเพื่อน เพื่อผู้ติชม
และกลุ่มวิจัยเชิงปฏิบัติการตามตารางที่กําหนดพร้อมสิ่งอํานวยความสะดวก
วงกลมชั้นที่ 3
องค์ประกอบซึ่งส่งเสริมให้การดําเนินงานครอบคลุมบริบทการปรับปรุงการสอน ประกอบด้วย
ลําดับความสําคัญในการปรับปรุงโรงเรียน ที่ได้จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนและความจําเป็น
ถึงด่วนในการพัฒนาโรงเรียน แผนการพัฒนาวิชาชีพ ทรัพยากรและระยะเวลา
และการประเมินผลวิธีการ ละสิ่งที่ผู้เรียนกําลังเรียนรู้อยู่
และวิธีการใช้ข้อมูลจากการประเมินเป็นแนวทางในการดําเนินงานจําเป็น
งด่วนของโรงเรียนต่อไป
จากภาพวงกลมชั้นที่ 3
อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ
6ะบวนการปฏิรูปการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งหมดที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
ที่เป็นลําดับ กมสําคัญในการปรับปรุงโรงเรียน ถัดมาเป็นการพัฒนาด้านวิชาชีพครู
โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมุ่งไปที่ครู คน และสุดท้ายการประเมินผลทั้งการประเมินระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งหมด
Clickman, Carl D (2002
นักแปลเครือข่ายของกรมวิชาการ 2546 131)
เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับภาพองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ดังต่อไป
1. เป้าหมายของโรงเรียนคืออะไร
จะบรรลุเป้าหมายของโรงเรียนได้อย่างไร
2.
แผนพัฒนาวิชาชีพครูที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียนคืออะไร แผนนี้เปิดโ..
บุคคลภายนอกตรวจสอบการสอนของผู้สอนและการเรียนของผู้เรียนได้อย่างไร (ณ)
3.
ประเมินความก้าวหน้าทั้งหมดมุ่งสู่เป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งโรงเรียนได้อย่าง
4. อะไรคือจุดมุ่งเน้นในการสอนและการเรียนรู้ที่ผู้สอนทุกคนต้องปฏิบัติ (9)
5. จะใช้รูปแบบการนิเทศแบบใด (แบบคลินิกแบบเพื่อนแนะเพื่อน แบบกลุ่มวิจัย ฯลฯ
และ เครื่องมือใด (การสังเกต ผลงานที่ได้รับมอบหมาย การปฏิบัติ แฟ้มผลงาน ฯลฯ) (ช)
6. จะใช้วิธีการอะไรในการทํางานร่วมกับผู้อื่น (แบบไม่สั่งการ
แบบร่วมคิดร่วมทํา แบบสั่งการ และให้ข้อมูล แบบสั่งการและควบคุม) (ฉ)
7.ผู้สอนแต่ละคนจะมีการปรับเปลี่ยนอะไร ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
(ง)
8. ผู้สอนแต่ละคนจะเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนอย่างไร (ค)
9.
ผู้สอนแต่ละคนจะเปลี่ยนเนื้อหาที่สอนอย่างไร (ข)
การใช้คําถามนํานี้จะต้องคิดพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบอาจด้วยตนเองหรือร่วมกันในการ
พัฒนาการศึกษาให้สูงขึ้นเป็นที่น่าพึงพอใจ
Ghaye, Anthony (1998) กล่าวสรุปไว้ว่า การเรียนการสอนนั้นสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ด้วยการ
ทบทวนตนเอง กระบวนการทบทวนตนเองทําให้ครูเข้าใจการสอนของตัวเอง
เข้าใจว่าอะไรสามารถทําได้ และอะไรได้น้อย ช่วยให้ตัดสินใจอย่างฉลาด
และเข้าใจความหมายของของสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและใน โรงเรียนได้ กระบวนการในการทบทวนตนเองจะก้าวหน้าไปได้ต้องอาศัยกรอบโครงสร้างที่ดี
ความท้า คนใดคนหนึ่งเป็นการส่วนตัวตามลําพังสนับสนน
การทบทวนตนเองหลังการสอนไม่ได้เป็นเป็นเพียงการเรียนรู้จากประสบการณ์ของ
และมีความมั่นใจในการทํางาน การทบทวนตนเองเป็นกระบวน วิสัยทัศน์ มองเห็นภาพการเรียนการสอนที่ดี
Schon, (1983) ธิบายว่า
การใช้ความคิดพิจารณาระหว่างการเรียนการสอนเรียกว่า “การทบทวนตนเองระหว่างการสอน
ส่วนการคิดไตร่ตรองหลักการเรียนการสอน เรียกว่าการทบทวนตนเองหลังการสอน
ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ได้จบลงแล้ว เมื่อครูให่มองย้อนกลับไปคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
การทบทวนตนเองหลังสอนที่มีคุณภาพ
การทบทวนตนเองหลังการสอนเป็นกระบวนการที่เหมาะกับการปฏิบัติงานในอาชีพ
เพราะเป็น บวนการที่ควรปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์
กระบวนการนี้มิใช่จะจําเป็นเฉพาะกับการสอนที่ดี ท่านั้น แต่ยังเป็นความจําเป็นพื้นฐานสําหรับมนุษย์ด้วย
บอเมสเตอร์(Baumeister, 1991) กล่าวว่า ชีวิตมี
ความหมายเมื่อเราสนองความต้องการ 4 ประการเหล่านี้ได้แก่ 1) ด้านวัตถุประสงค์ 2)
ด้านค่านิยม 3) ด้าน ประสิทธิผล และ 4) ด้านความพึงพอใจในตนเอง
การทบทวนตนเองหลังการสอนช่วยให้เราเข้าใจการเรียนการสอน
คําว่า“การทําความเข้าใจ Weick. (1995) กล่าวว่า
การทําความเข้าใจเป็นความคิดและกระบวนการที่ซับซ้อน
“ความเข้าใจ” ยังหมายถึง
การเพิ่มความระมัดระวังในการมีปฏิสัมพันธ์ในกลุ่มและในสภาวะ แวดล้อมที่เราสอน
ชั้นเรียนของเราเป็นสภาวะแวดล้อมของการเรียนการสอนที่พิเศษ เพราะเราสร้างสภาวะ
แวดล้อมขึ้นมาและเราก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
แต่อย่างไรก็ตามสภาวะแวดล้อมที่มีผลกับวิธีการสอน ของเราด้วย เช่น
ในห้องเรียนขนาดเล็กและแออัดกิจกรรมที่ทําได้ก็จะเป็นเพียงประเภทที่ไม่ต้องใช้โต๊ะ
“ความเข้าใจ” มิได้เป็นเพียงกระบวนการสนทนากับตัวเองเกี่ยวกับเรื่องการสอนเท่านั้นแต่เกี่ยวข้อง
กับการ ได้ความรู้จากการสนทนากับเพื่อนครูด้วยกัน และเปลี่ยนประสบการณ์กันและกัน
กระบวนการนี้เป็น กระบวนการต่อเนื่องที่ต้องการความเป็นคนช่างสังเกต
ต้องสังเกตความเป็นไปในอาชีพถ้าเห็นว่ามีอะไร เกิดขึ้น
ต้องหาเหตุผลมาอธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เช่น
ต้องสังเกตเห็นว่าเด็กคนไหนพูดคุยกันอยู่ตลอดเวลา เด็กคนไหนจับดินสอไม่ถูกวิธี
คนไหนรักการอ่าน คนไหนเก่งทดลองวิทยาศาสตร์และคนไหนใช้เครื่อง บันทึกเทปได้เก่ง
รูปแบบการสะท้อนความคิดนี้
มีลักษณะเด่น 4 ประการ คือ เป็นวงจรมีความยืดหยุ่น มีประเด็น
1.
มีลักษณะเป็นวงจร
การทบทวนตนเองและการปฏิบัติเป็นกระบวนการที่ดําเนินต่อเนื่อง เป็นวงจร
เมื่อกระบวนการเริ่มแล้วจะไม่มีการถอยหลังกลับไปสู่จุดเริ่มต้น
พูดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ ทบทวนตนเองหลังการสอน จะนําเราไปสู่วงจรใหม่ที่ปรับปรุงแล้วต่อไป
2.
มีความยืดหยุ่น รูปแบบที่จะนําไปใช้ จําเป็น
จะต้องมีความยืดหยุ่น จะต้องไม่เป็นแบบที่มีลักษณะเป็นขั้นตอน
ครูอีกคนหนึ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียนเล็กๆวิธีการทํางานของครู
ในการที่จะผลักดันสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ขึ้น หรือค่านิยมเกี่ยวกับโรงเรียนในชุมชนที่กว้างขึ้น
ระการที่สอง รูปแบบการทบทวนตนเองต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อให้สอดคล้องกับวิธีการ
การเรียนการสอนไม่จําเป็นต้องดําเนินไปในรูปแบบที่คงที่ และมีขั้นตอนเป็นลําดับ
เช่นรอบหนึ่งอาจเลือกที่จะทบทวนวิธีการสอนของเขาก่อน สิ่งหนึ่งที่เขาอาจจะเรียนรู้จาก
เรือ เขาเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดเองทําเองน้อยเกินไป เขามักจะคอยชี้แนะควบคุม
และกตรงๆ เมื่อรู้เช่นนี้เขาอาจลองทบทวนค่านิยมหรือความเชื่อของตนเอง (หากต้องการ
ลองวิธีสอน) แล้วหลังจากนั้นอาจจะทบทวนต่อไปว่าจะปรับปรุงการสอนและการเรียนรู้ของเด็ก
ครูคนอื่นอาจจะเริ่มที่การทบทวนถึงสภาวะแวดล้อมซึ่งก็คือ
โรงเรียนที่เขาสอน โรงเรียน อาจจะตั้งอยู่ในย่านยากจนชานเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้ปกครองอาจจะไม่ค่อยมี
ในกรณีเช่นนี้ควรจะต้องมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับชุมชน
และโรงเรียนจะต้องเพิ่มบทบาทของตนเอง ต้องหาเงิน เต็มที่
เพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากร เป็นต้น
จากการทบทวนสภาวะแวดล้อมอาจจะตามมาด้วยการพิจารณาว่าสภาวะแวดล้อมมีผลกระทบต่อการสอนได้อย่างไรบ้าง
ซึ่งอาจจะย้อนไปสู่เรื่องค่านิยมของครูและโรงเรียนใน กับภาพรวม ดังนั้นค่านิยม
การปฏิบัติ การปรับปรุงและสภาวะแวดล้อม จึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะต้องทบทวน สวน
ลําดับขั้นตอนในการคิดนั้นแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล
3.
มีประเด็นที่เน้น การมีความยืดหยุ่น
มิได้หมายความว่าจะคิดวกวนอยู่กับปัญหาเกี่ยวกับการ วิตกกังวลในเรื่องดังกล่าวโดยหวังว่าครูจะพบทางออกเอง
การคิดจะต้องมีประเด็นที่เน้นและปี อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
ในการนี้ควรใช้รูปที่ 1.1
เป็นแผนที่เพื่อช่วยชี้ทิศทางและจํากัด
รูปแบบดังกล่าวจะช่วยให้เห็นทิศทางโดยรอบ และเห็นหนทางต่าง ๆ
4.
ลักษณะเป็นองค์รวม จากรปนี้
เราจะมองเห็นการเรียนการสอนภาพรวม เห็นการเชื่อมโยง เขากับการปฏิบัติ
การเชื่อมโยงการสอนเข้ากับความตั้งใจของครูที่จะพัฒนาการเรียนรู้และ
การประเมินเพื่อปรับปรุงการสอน
การประเมินการเรียนรู้
จะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับว่าการจัดการเรียนรู้บรรลุพันธกิจหรือไม่
มีความจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เพื่อการบรรลุเป้าหมายของโปรแกรมการศึกษา
การประเมินเพื่อพัฒนาประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้
Ghaye, T (1995) เสนอแนวคิดการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
จะต้องพิจารณาคำถาม5 ข้อ คือ
1. คำถามเกี่ยวกับเวลา
การปรับปรุงควรจะเกิดขึ้นเมื่อไร
ผลของการปรับปรุงควรจะได้ผลอย่างชัดเจนเมื่อไร
2.
คำถามเกี่ยวกับขนาดของาน
ขอบเขตการปรับปรุงควรมีขนาดเท่าไร
เพียงใด
ผู้เกี่ยวข้องมีกี่คน
จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
3. คําถามเกี่ยวกับความไม่แน่นอน
จะแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่
ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม การปฏิบัติแรงจูงใจ หรือ ทิศทางใหม่เป็นการปรับปรุงจริง ๆ
จะตรวจสอบจากหลักฐานใดว่ามีการปรับปรุงเกิดขึ้นแล้ว
มีความเข้าใจในความเกี่ยวโยงกันระหว่างสิ่งที่รู้สึกว่าพัฒนาแล้วกับการพัฒนาที่ชัดเจน
เมื่อ มองในแง่ของคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
4. คําถามเกี่ยวกับการเมืองในโรงเรียน
การเมืองในโรงเรียนมีความสําคัญต่อความพยายามในการปรับปรุง
เนื่องจากการปรับปรุงมี แนวคิดพื้นฐานมาจากค่านิยมและเป็นกระบวนการที่มีระบบ
บุคคลในองค์กรจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ต้องการที่จะปฏิบัติตามแนวคิดของตน
การเข้าใจการเมืองที่อยู่เบื้องหลังความพยายามในการปรับปรุง
ยอมรับว่าในโรงเรียนย่อมมีการช่วงชิงกันระหว่างกลุ่มผลประโยชน์
การทบทวนจะทําให้เกิดคําถาม การเมือง เพราะการปรับปรงเกี่ยวกับ “ผลประโยชน์”
“อํานาจ” และการแก้ปัญหาเรื่อง ความขัดแย้ง เมื่อมีการปรับปรุง คําถามคือ
ใครจะได้ผลประโยชน์อะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และเพราะเหตุใด
5. คําถามเกี่ยวกับการลงลึกในการปฏิบัติการ
ถ้าการปรับปรงมีจดอ่อนและมีแรงกดดันจากภายนอก
การปรับปรุงก็จะมีลักษณะฉาบฉวย นทาให้ละเลยสิ่งที่เป็นรากฐานที่ควรให้ความสนใจ
สิ่งสําคัญจะต้องทําความเข้าใจว่า การปรับปรุงโรงเรียน การปฏิรูปในโรงเรียนแตกต่างกัน
โดยที่การปฏิรูปมีผลลึกซึ้งและเป็นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาที่มี
หนแปลงอย่างลึกซึ้งนี้
มักจะเกิดจากการปรับปรุงโครงสร้างและ
อิทธิพลทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
การเย้นมี่พัฒนาภายในมากเกินไปจะไม่ไปสู่การปฎิรูปโรงเรียน การปรับปรุงในวงที่กว้างออกไป
การประเมินที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีความชัดเจนของจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายในการเรียนรู้เป็นข้อความเกี่ยวกับการศึกษาที่แสดงถึงความมุ่งมั่นเจตนาที่ตั้งใจให้เกิดขึ้น
เช่น ความสามารถในการแก้ปัญหาทักษะความคิดที่มีจิตวิญญาณ ทักษะด้านการสร้างสรรค์และ
นวัตกรรมเป็นต้น
รูปแบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแนวคิด
Outcome
Driven Model
ตรวจสอบความเข้าใจ
และการสรุปความรู้ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการจัดการเรียนรู้
ใช้แนวทางประเมินการเรียนรู้ ตามแนวคิด Outcome Driven Model
หลักการประเมินผลการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้นั้นควรจะเป็นกระบวนการที่มีหลักการมารองรับเสมอ
ควบคุมกระบวนการการประเมินผลการเรียนรู้มีดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน
การประเมินลักษณะคว
ของผู้เรียนและองค์ประกอบอื่นๆด้านการเรียนการสอนนั้นต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนซึ่งสอดด
จุดประสงค์ของโรงเรียนและของชาติ
องค์ประกอบสําคัญของกระบวนการทางการศึกษาควรมีโครง
เหมาะสมและความก้าวหน้าและพัฒนาการของผู้เรียนควรเป็นสิ่งสําคัญอันดับแรก
2.
ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์ในการประเมินประเมินผลควรมีการนําเอาองค์ประกอบที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติของผู้เรียนที่เฉพาะเจาะจงตามที่ระบุไว้, จุดประสงค์มาพิจารณาเพื่อเลือกขั้นตอนในการประเมินผลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้
การประเมินผลควรจะครอบคลุมองค์ประกอบด้าน ความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างกว้างขวาง
ควรจะประเมินพัฒนาการของนักเรียนในผลการเรียนรู้คาดหวังทุก ข้อ การประเมินผล
ไม่ควรจะยึดตามการพัฒนาทางปัญญาเช่นความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการคิดเท่านั้น แต่ควร
จะรวมถึงการพัฒนาด้านจิตใจ และทักษะ เช่นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ
พฤติกรรมและการปฏิบัติจริงอีกด้วย
4. การประเมินผลควรทําอย่างต่อเนื่อง
การประเมินผลควรทําอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมและ ประเมินพัฒนาการของผู้เรียน
การประเมินผลควรจะทําคู่ขนานไปกับกระบวนการในการศึกษาที่ผู้เรียนได้รับ
การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
5. การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
กระบวนการประเมินผลควรสามารถ | จะเจาะลึกถึงธรรมชาติของสถานการณ์การเรียนการสอนได้เช่นเดียวกับสาเหตุของปัญหาที่ขัดขวาง
ประสิทธิภาพของกระบวนการการเรียนรู้และพัฒนาการที่เหมาะสมของนักเรียนในชั้นเรียน
ควรจะให้ข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและองค์ประกอบอื่นๆ
ที่ก่อให้เกิดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ดี เดียว แต่ควรถูกนํามาใช้ ประยุกต์
หรือตอบสนองเพื่อพัฒนาอย่างไรก็ตามข้อมูลที่รวบรวมผ่านกระบวนการการประเมินผล
ไม่ควรที่จะนํามาใช้เพื่อเก็บบันทึกเพียงอย่าง เกี่ยวข้องที่จะส่งผลต่อการเรียนการสอนในชั้นเรียน
6. การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน การประเมิน
บุคคลเพียงไม่กี่คน โดยควรจะเป็นความพยายามร่วมกันของทุกคนที่เชื่อระเมินผล
ไม่ควรจะเป็นการทํางานขอ หลักสูตรของโรงเรียน
เพื่อให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพและทุกคนที่เกี่ยวข้องในการเรียนการสอน
และตัวผู้เรียนเองและแม้กระทั่งคนในชุมชนหากจําเป็นควรจะทํางาน, และความก้าวหน้าของผู้เรียนที่ดีขึ้น
7. การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ ต้องยง
เป็นผลให้ผลที่สมบูรณ์แบบ ผลการประเมินไม่ได้ให้ข้อมูลโดยตรงเสมอไป"
ประเมินผล ไม่ได้มีความแม่นยําที่สุดอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการประเมินผล
การตัดสินที่รอบคอบและเฉียบจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
นิยาม “การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
(Curriculum
Based Assessment; CBA) คือ การให้ผู้เรียน อบต.
เรียนรู้ตามกิจกรรมที่ออกแบบให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้
จากนั้นนําผลการทดสอบไปใช้ปรับปรุงการ
เรียนการสอนให้ตอบสนองความต้องการจําเป็นของนักเรียน
ผู้สอนนําผลการประเมินตามหลักสูตรมาใช้เพื่อ ขอบ ปรับเปลี่ยนการสอนของตนเอง
เพื่อช่วยผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องต่อไป หรือกรณีที่ผู้เรียนที่มีความ
หวังทำ พร้อมและต้องการก้าวหน้ายิ่งขึ้น
นักการศึกษาใช้การประเมินตามหลักสูตรเพื่อช่วยให้อัตราการพัฒนาการ
แต่ควรเรียนการสอนสูงขึ้นได้ รวมถึงการปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน
ด้วยการสังเกตและบันทึกการปฏิบัติของ อีกด้วย
นักเรียนตามที่กําหนดไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา ข้อมูลต่าง ๆ
ที่เก็บรวบรวมได้จะช่วยในการตัดสินใจ และและเกี่ยวกับการเรียนการสอน (Deno, 1987, p. 41).
ในการประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรนั้นการตัดสินใจ จะได้
เกี่ยวกับการสอนขึ้นอยู่กับข้อมูลย้อนกลับที่ได้จากการประเมินความสามารถของผู้เรียนที่ระบุไว้ในหลักZins,
& Curtis, 1988, Marston & Magnusson, 1985) ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนตรงกับความต้องการ ผู้เรียน
อันเป็นการเพิ่มโอกาสที่ประสบความสําเร็จในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรมีจุดเด่นที่บอกถึงภาระงานใดที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พังสามารถตามที่หลักสูตรกําหนด
การเลือกภาระงาน และกระบวนการใช้คะแนนมาตร ปริหาร
ใช้การประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างไรนั้นก็แล้วแต่สถานการณ์
อาจใช้ข้อมูลที่ได้จากการ ประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรให้โปรไฟล์ของผู้เรียนได้ทั้งในระดับรายบุคคล
ระดับชั้นเรียน ระวัง "อานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
นอกจากนี้ข้อมูลจากการประเมินตามหลักสูตรสามารถใช้เป็นกลุ่ม
ที่ใช้เปรียบเทียบคะแนนของผู้เรียนรายบุคคลมา
(Shinn,
1988) หรือ เทียบ (norm-referenced manner)
mm)
ความสามารถของผู้เรียน อันเป็นผลมาจากการเรียน เกณฑ์เปรียบเทียบ (criterion-referenced
mann สัมพันธ์สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน (Shinn
& Good, 1992),
การประเมินผลการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษากรอบที่ใช้ในการอ้างอิงทอง
ผลการศึกษาวิจัยของเดวิด นิโคล (David Nicol University of Strathclyde สรุปเป็นหลัก การให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 10 ข้อ ดังนี้
1.
ให้ความชัดเจนว่าการปฏิบัติงานที่ดีเป็นอย่างไร
(เป้าหมาย เกณฑ์การวัด
ขอบเขตของสิ่งที่ผู้เรียนต้องทําในหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับเป้าหมายของเกณฑ์
ระหว่าง และหลังการประเมินผลแค่ไหน
2.
ให้ “เวลาและความพยายาม”
กับการเรียนรู้สิ่งที่ท้าทาย ขอบเขตของงานที่หลาก
กระตุ้นการเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน
3.
ให้ข้อมูลย้อนกลับคุณภาพสูงที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตรวจสอบความถูกต้องตนเองผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับหรือไม่อย่างไร
และความคิดเห็นดังกล่าวมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนสามารการวัดและปรับปรุงด้วยตนเองได้อย่างไร
4.
สร้างความเชื่อที่เป็นแรงบันดาลใจและความเคารพตนเองในทางบวก
ขอบเขตของ การบ
ประเมินและการให้ข้อมูลย้อนกลับสามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนและความสําเร็จแก่ผู้เรียนได้แค่ไหนครับ
5.
สนับสนุนให้มีการปฏิสัมพันธ์และการพูดคุยในเรื่องการเรียนการสอน
(เพื่อน และ นักเรียน)
มีโอกาสใดบ้างสําหรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องงานที่มอบหมายเพื่อการประเมินผล
6.
อํานวยความสะดวกในการพัฒนาการประเมินตนเองและการสะท้อนความคิดทาง
โดยเพื่อนในวิชาที่เรียนมีแค่ไหน เรียน ขอบเขตของโอกาสอย่างเป็นทางการสําหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับ
การประเมินตนเอง การประ การเลือก หัวข้อ วิธีการ เกณฑ์การวัดผล
7.
ให้โอกาสผู้เรียนเลือกการประเมินผล –
เนื้อหาและกระบวนการ ขอบเขตของผู้เรียน ระเมินผล
(งานที่ใช้ประเมินผล/การประเมินผลงาน) ในรายวิชาที่สอง
8.
ห้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตัดสิน
9. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียน
ย้อนกลับช่วยสนับสนุนการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียน
10. ช่วยครูผู้สอนในการปรับการเรียนการสอน
สนมการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้มีมากน้อยเพื่อ
ดังนั้นการประเมินผลจะมีหลักการ กระบวนการการประ
1. การประเมินผลต้องยึดตามจุดประสงค์การสอนที่ชัดเจน
2.
ขั้นตอนและเทคนิคในการประเมินผลควรเลือกตามจุดประสงค์
3. การประเมินผลควรเป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน
4.
การประเมินผลควรทําอย่างต่อเนื่อง
5 การประเมินผลควรระบุจุดอ่อนจุดแข็งและใช้งานได้
6.
การประเมินผลควรเป็นความพยายามร่วมกัน
7.
การประเมินผลควรจะมีความละเอียดรอบคอบ
การวัดและการประเมินผล
การวัดและการประเมินผลเป็นภารกิจที่สําคัญอย่างหนึ่งสําหรับผู้สอน
ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและ แดง
การประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ความสามารถของผู้เรียนตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า
ได้ดําเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ น กําหนดไว้หรือไม่
ดังนั้นผู้สอนจึงจําเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดําเนินการวัดและการ
แบ) ประเมินผลได้เป็นอย่างดี
การวัดเป็นกระบวนการเชิงปริมาณในการกําหนดค่าเป็นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทน
คุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ส่วนคําว่า “การประเมินผล”
นั้นเป็นการตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุสิ่งของ
โครงการการศึกษาพฤติกรรมการทํางานของคนงานหรือความรู้ความสามารถของนักเรียน
จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล
การวัดและการประเมินผลการศึกษาหรือการเรียนการสอนหรือที่ในปัจจุบันใช้คําว่าการจัดการเรียนรู้เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ดังต่อไปนี้
1. การจัดตําแหน่ง (Placement) เป็นการวัดและการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือต่าง
ๆ เพื่อจัด หรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ตรงระดับไหนของกลุ่มเก่ง
ปานกลาง หรืออ่อน มาก
น้อยเท่าใด
ซึ่งสามารถใช้ได้หลาย ๆ กรณี ตัวอย่างเช่น เมื่อจะรับผู้เรียนเข้าสถานศึกษา
ผู้เรียนแต่ละคนจะมี - ความแตกต่างกันทั้งด้านสติปัญญา ความสนใจ ความถนัด
รวมทั้งบุคลิกภาพด้านต่างๆ ที่จะต้องมีการ -
เลือกว่าจะรับผู้เรียนประเภทใดหรือไม่รับประเภทใดและถ้ารับเข้ามาแล้วจะจัดแบ่งสาขาวิชาหรือชั้นเรียน
|
ไ
ม้บนสอนหรือสถานศึกษาก็จะสามารถใช้การวัดและการประเมินผลมาเป็นเกณฑ์ในการจัดหรือ
ลงประกได้อย่างยุติธรรม
2. การวินิจฉัย (Diagnosis) คำ ๆ นี้ มักจะใช้ในการทางแพทย์
โดยเมื่อแพทย์ตรวจคนไข้แล้ว แพทย์จะต้องวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นโรคอะไร
หรือมีสาเหตุผลอะไรที่ทำให้ไม่สบาย ซึ่งจะเป็นการหาสมมติฐานเพื่อนำไปสู่การรักษา
สำหรับในทางการศึกษานั้น การวัดและการประเมินผลที่เป็นไปเพื่อการวินิจฉัย
ผู้เรียนคนใคมีความสามารถทางด้านใดและเมื่อสอนไปแล้วแต่ละวิชามีส่วนใดที่ผู้เรียนข้าใจ
ชัดเจนถูกต้องหรือไม่เข้าใจ เข้าใจยังไม่ถูกต้อง
ผู้สอนจะได้สอนหรือแนะนำทำความเข้าใจใหม่ได้ถูกต้อง
3. การเปรียบเทียบ (Assessment) จุดประสงค์ของการวัดและประเมินผลในข้อนี้เป็นไปเพื่อการเปรียบเทียบคสามเจริญหรือพัฒนาการของการเรียนรู้ของผู้เรียน
ความรู้ความสามารถของผู้เรียนไว้ก่อนเมื่อเริ่มเรียนแล้ว
หลังจากนั้นเมื่อเลิกเรียนไปแล้วระยะหนึ่ง
หรือเมื่อเรียนไปจนจบแล้วผู้สอนอาจจะสอบเพื่อวัดและประเมินผลอีกครั้งว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นมากน้อยน้อยเพียงใด
ซึ่งการกระทำเช่นนี้เป็นการแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าหรือการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. การพยากรณ์ (Prediction) เป็นการวัดหรือประเมินผลเพื่อช่วยในการพยากรณ์ทำนายหรือคาดการณ์และแนะนำว่าผู้เรียนคนนั้น
ๆ ควรจะเรียนอย่างไร จึงจะประสบความสำเร็จและสอดคล้องกับความสามารถ
ความถนัดหรือความสนใจของแต่ละบุคลคล
ในทางจิตวิทยาการศึกษานั้นเชื่อกันว่าคนเราทุกวันมีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน
ดังนี้ หากสามารถจัดการศึกษา ก็จะทำให้การศึกษาหรือการเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
ได้รวดเร็วและประสบสำเร็จในการเรียนได้เป็นอย่างดี
5. การป้อนผลย้อนกลับ (Feedback) เป็นการวัดและการประเมินผลเพื่อนำผลประเมินที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุง
การจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อ ๆ ไป ผลย้อนกลับนี้มีได้ทั้งส่วนที่เป็นของผู้สอนส่วนที่เป็นของผู้เรียน
ในส่วนของผู้สอนเมื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านไปแต่ละบทเรียนหรือเมื่อจบการเรียนการสอนแล้ว
ผู้สอนควรมีการวัดและประเมินผลเพื่อดูว่าเทคนิค วิธีการสอน สื่อการเรียนการสอน
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ผู้เรียนในการศึกษาในขั้นสูงต่อ ๆ ไป
6. การเรียนรู้ (Leaning Experience)
เป็นการวัดและการประเมินผลที่มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวกระตุ้นในรูปแบบต่าง
ๆ
ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีแล้วยังทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียนอีกด้วย
เนื่องจากในกรณีที่มีการสอบเพื่อวัดและประเมินผลนี้
โดยที่ข้อสอบที่ใช้นั้นจะเป็นสภาพการณ์ที่สร้างขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนตอบแบบที่ต้องใช้ความคิดในหลาย
ๆ แง่มุม เช่น คิดแก้ปัญหา คิดคำนวณ คิดหาสรุป เป็นต้น
การวัดและการประเมินผลนอกจากจะมีจุดประสงค์ดังกล่าวแล้ว
บลูม (Bioom, 1971,p.56)
ได้เสนอเกี่ยวกับจุดประสงค์ที่จะทำการวัดและการประเมินผลโดยเน้นที่จุดประสงค์หรือพฟติกรรมที่ต้องการวัดได้ไว้ดังนี้
1. วัดทางปัญญาหรือพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2. วัดทางความรู้สึกนึกคิกหรือจิตพิสัย (Affective
Domain)
3. วัดความสามารถในการใช้อวัยวะต่าง ๆ หรือทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain)
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและประเมินผล
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนนั้นมีมากมายหลายชนิด
แต่ที่รู้จักและนิยมใช้กันเป็นส่วนมาก ได้แก่
1.การสังเกต เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกต
สังเกตพติกรรมของผู้เรียนในสภาพการณ์ที่เป็นจริงทั้งในและนอกห้องเรียนการสังเกตโดยทั่ว
ๆ ไปเป็นการเฝ้าดูพติกรรมต่าง ๆ ของผู้ถูกสังเกต
ซึ่งอาจจะเฝ้าดูไปตามเรื่องไม่ได้กำหนดหรือวางแผนว่าจะสังเกตอะไร อย่างไร
สังเกตอะไรก่อน-หลัง ตัวอย่างเช่น
ต้องการจะวัดว่าผู้เรียนคนใดคนหนึ่งมีพฤติกรรมก้าวร้าวอย่างไรบ้าง อาจกำหนดแผนงานในการสังเกตเป็นระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อคอยสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้เรียนคนนั้นว่าแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวอะไรออกมาบ้าง
และมีการแสดงออกอย่างไรพร้อมทั้งจดบันทึกผลไว้แล้วนำมาประเมินผลในภายหลัง เป็นต้น
2. การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยซักถามกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนมีการซักถามโต้ตอบซึ่งกันและกัน
การสัมภาษณ์ อาจทำได้สองแบบเช่นเดียวกัน คือ
แบบไม่มีแบบแผนและแบบมีแผนโดยเฉพาะแบบมีแผนนั้น
จะกระทำเพื่อหาข้อมูลบางอย่างโดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน
มีแนวการสัมภาษณ์และกำหนดเป็นคำถามไว้ล่วงหน้า ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
3. การให้ปฏิบัติ เป็นการให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติให้ดูว่าสามารถทำได้ตามที่เรียนรู้หรือไม่
เช่น การสอนเขียนแบบ
เมื่อผู้สอนสอนหลักการไปแล้วก็ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเขียนแบบตามหลักการที่สอนมาให้ดู
เป็นต้น การวัดโดยให้ปฏิบัติและประเมินผลจากผลการปฏิบัตินั้น ๆ
4. การศึกษากรณี เป็นเทคนิคการศึกษาแก้ปัญหา
หรือปรากฎการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยละเอียดลึกซึ้งเป็นราย ๆ ไป เช่น
การค้นหาสาเหตุของผู้เรียนที่มาโรงเรียนสายเป็นประจำหรือผู้เรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนและชอบหนีโรงเรียน
เป็นต้น ในการศึกษาจะใช้เทคนิคและเครื่องหลายชนิดมารวบรวมข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ
5. การให้จินตนาการ
เป็นเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาที่สร้างขึ้นเพื่อล้วงความรู้สึกนึกคิดของผู้ถูกวัดออกมาอย่างไม่ให้เจ้าตัวรู้สึกและให้เจ้าตัวเห็นว่าเป็นความรู้สึกหรือปฏิกิริยาของผู้อื่น
ประเมินผลด้วยวิธีนี้มักใช้ทางด้านบุคลิกภาพ เช่น เจตคติ ความสนใจ อารมณ์ ค่านิยม
นิสัยและอุปนิสัย เป็นต้น
6. การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีที่จะต้องมีแบบสอบถามเป็นชุดของคำถามที่ถูกจัดเรียงไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ
พร้อมที่จะส่งให้ผู้ตอบอ่านและตอบด้วยตนเอง
คำถามที่ใช้จะเป็นคำถามที่ใช้ถามข้อเท็จจริงและความคิดเห็นต่าง ๆ
เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คำถามใน แบบสอบถามนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
แบบคำถามเปิดและแบบคำถามปิด
การประเมินผลตามระบบการวัดผล
ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น
จะต้องมีการวัดและการกประเมินผลเพื่อเป็นตัวบ่งนี้ถึงสัมฤทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียนและประสิทธิภาพของผู้สอน
ดังนั้นเมื่อมีการวัดผลด้วยเครื่องมือเทคนิควิธีใด ๆ
แล้วจะต้องนำผลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินผลด้วยระบบการวัดผลมาตรฐานซึ่งได้แก่
1.การประเมินผลแบบผลแบบอิงกลุ่ม
เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบผลงานหรือคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนกับผู้เรียนคนอื่น
ๆ ในกลุ่มเดียวกัน โดยใช้งานหรือแบบทดสอบชนิดเดียวกัน
จุดมุ่งหมายหลักของการประเมินผลแบบนี้เพื่อต้องการจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่มนั้น
ๆ ตามความสามารถตั้งแต่สูงสุดจนถึงต่ำสุด
2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น
เพื่อดูว่างานหรือการสอบของผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด
โดยไม่คำนึงถึงอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันตัวอย่างเช่น
การสอบวิชาหลักการสอนให้ผ่าน จะต้องได้เกรดไม่ต่ำกว่า 2 หรือ C คนที่สอบได้มากกว่า
2 ถึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ เป็นต้น
การประเมินผลตามสภาพจริง
การปฏิบัติการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน
มีจุดเด่นประการหนึ่งที่นอกเหนือจากการเรียนการสอน ที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
คือ การประเมินผลตามสภาพจริง หรือเน้นการวัดผลให้ตรงกับสภาพจริงของการเรียนการสอน
แล้วนำผลการวัดเหล่านั้นมาประเมินว่าบรรลุผลการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
ในปัจจุบันการวัดผลมิใช่เพียงการทดสอบ
หรือการสอบอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินจากสภาพจริงของผู้เรียน ดังนั้น
การประเมินผลตามสภาพจริง จึงหมายถึง กระบวนการสังเกต
การบันทึกและรวบรวมข้อมูลจากผลงานและวิธีการที่ผู้เรียนกระทำ
เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการตัดสินใจในการศึกษาถึงผลกระทบเหล่านั้น
การประเมินผลตามสภาพจริงจะไม่เน้นเฉพาะการประเมินทักษะพื้นฐาน
ยังเน้นการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบข้อความรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
พัฒนาการสอนของครูอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
ลักษณะของการประเมินผลตามสภาพจริง
ลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริง มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการดังนี้ คือ
1.ประเมินในสิ่งที่เป็นภาคปฏิบัติจริง หรือกระทำจริงได้ เช่น
ผู้เรียนต้องทำการทดลองวิทยาศาสตร์ได้จริง ๆ
ไม่ใช่ทดลองหรือแก้ปัญหาโดยการเขียนบรรยาย
หรือจำถึงหลักของวิทยาศาสตร์โดยไม่เคยทดลองเลย หรือเด็กที่จะเป็นผู้ได้เกรด A วิชาสุขศึกษา
ไม่ใช่เด็กที่ตอบคะแนนจากวิชานี้ได้สูง แต่ไม่รู้จักดูแลรักษาสุขภาพ
ขี้โรคแต่งตัวสกปรก เป็นต้น
2. กำหนดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินไว้ให้ชัดเจน โดยยึดหลักของการแสดงออกหรือปฏิบัติเป็นสำคัญ
เพื่อการเข้าใจกันระหว่างผู้เรียนและครู
3. การประเมินตามสภาพจริง
จะต้องทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่ เด็กสามารถจะปรับปรุง
หรือขยายผลงานของตนเองให้เข้าใกล้กับสิ่งที่เป็นเกณฑ์กำหนดไว้
4. การประเมินตามสภาพจริง จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาในการแสดงออกมาอย่างเต็มที่
ในสิ่งที่เขาสนใจและต้องการ
จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งในสภาพแวดล้อม ชุมชน ที่เชาอยู่อาศัย
การเรียนในลักษณะนี้ จะทำให้ผู้เรียนมีความสุขต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน
จากลักษณะสำคัญของการประเมินผลตามสภาพจริง 4 ประการนี้
จะเห็นว่าแนวการประเมินตามสภาพจริงมุ่งที่จะวัดการแสดงออกใด ๆ
ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิดและในกิจกรรมทุกกิจกรรมทุกอย่างหน้าที่ของครูจะเป็นไปในลักษณะติดตามผลพร้อมกับช่วยเหลือ
เสนอแนะ
แนวทางในการวัดการประเมินตามสภาพจริง
เพื่อให้เห็นแนวทางของการวัดการประเมินตามสภาพจริง จึงกล่าวสรุปเป็นข้อ ๆ
ได้ดังนี้
1. การวัดผลจะต้องใช้หลาย ๆ วิธีในการวัด เพื่อจะได้ประเมินผู้เรียนได้ครอบคลุม เช่น
การวัดแบบสังเกต การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การใช้สังคมมิติ การวัดจินตภาพ
การวัดภาคปฏิบัติ และการวัดโดยใช้ข้อสอบ เป็นต้น
2. จะต้องมีการจัดทำแฟ้มสะสมงาน ซึ่งจะเป็นที่รวบรวมผลงานต่าง ๆ
ของผู้เรียนคนหนึ่ง ๆ อันเป็นผลมาจากการเรียนการสอน
มาเป็นองคืประกอบของการประเมินปลายภาคหรือปลายปี
3. การวัดผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระดับชั้นต่าง ๆ
ในตัวผู้เรียนแต่ละคน จะต้องตอบให้ได้ว่าบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
3.1 เป้าหมายระดับชาติ
3.2 เป้าหมายระดับท้องถิ่น
3.3เป้าหมายของตนเอง
4.แนวทางในการวัด
เน้นการวัดที่ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนหรือการวัดมุ่งจะปรับปรุงพัฒนาผู้เรียน ส่วนการวัดที่เน้นโดยภาพรวมหรือสรุป
จะทำในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
แต่ในส่วนครูผู้สอนจะต้องเน้นการวัดผลควบคู่ไปกับการเรียนการสอน
เพราะเมื่อไรเห็นผู้เรียนอ่อนในเนื้อหาใด การวัดผลแบบเดิม ๆ
และใช้ข้อสอบอย่างเดียวเป็นหลัก จะสร้างความหวาดวิตกกังวลให้แก่ผู้เรียน
และผู้เรียนจะไม่มีความสุขแต่อย่างไรการเรียนการสอนก็กลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อไม่น่าสนใจ
เครื่องมือการวัดประเมินตามสภาพจริง
การประเมินผลตามสภาพจริงที่มีการบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนกับแผนการการประเมินนั้นครูจะประเมินโดย
4P คือการแสดงออก กระบวนการ
ผลผลิต และแฟ้มสะสมงาน โดยการประเมินควบคู่กันดังนี้ (นวรัตน์ สมนาม,2546. หน้า 193-195
1. การประเมินการแสดงออก (Performance)
การประเมินการแสดงออก ครูสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนเมื่อครูอยู่ท่ามกลางกลุ่มนักเรียน
โดยครูเล่านิทาน หรือนักเรียนทำงาน และกิจกรรมต่าง ๆ
ครูจะสังเกตสีหน้าท่าทางการพูดโต้ตอบ การแสดงออกที่สนุกสนานเพลิดเพลิน
2. การประเมินกระบวนการและผลผลิต (Process and Products)
การประเมินผลผลิต นักเรียนจะเป็นสื่อกลางให้ครูเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนข้อมูลทีสำคัญที่เกิดจากการสำรวจค้นคว้า
ทดลอง และโครงงานต่าง ๆ แต่จะเน้นที่กระบวนการที่มีผลผลิตด้วย ตัวอย่างการผลิต
ใช้แผนงาน โครงงาน รายชื่อหนังสือที่อ่าน ผลการสาธิต โครงงานกลุ่ม เป็นต้น
การประเมินแฟ้มสะสมงาน (Portfolio Assessment)
เป็นวิธีการประเมินที่เน้นประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ในการประเมินการแสดงออก
กระบวนการและผลผลิต หมายถึง
การประเมินความสำเร็จของนักเรียนจากผลงานที่เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุด
หรือผลงานที่แสดงถึงความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ
และพัฒนาการของนักเรียนที่ได้เรียนรู้มาช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งแสดงใหเห็นถึงสิ่งที่เขาประสบความสำเร็จ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำไปใช้ในการประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนจึงควรทำความรู้จักกับแฟ้มสะสมงานในรายละเอียด
ดังนี้
3.1 ความหมายของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงาน หมายถึง
สิ่งที่เก็บรวบรวมผลงานหรือตัวอย่างของผลงานหรือหรือหลักฐานที่แสดงถึงผลสัมฤทธิ์
ความสามารถ ความพยายาม
3.2 ลักษณะเด่นของการประเมินโดยแฟ้มสะสมงาน
มีลักษณะเด่นที่สำคัญดังต่อไปนี้
3.2.1 เพิ่มแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน
3.2.2
พัฒนาทักษะทางวิชาการระดับสูงแก่ผู้เรียน
3.2.3
พัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมเพื่อให้งานสำเร็จ
3.2.4
เป็นการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้จากนามธรรมไปสู่รูปธรรม
3.2.5 แสดงพัฒนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
และนักเรียนได้ปรับปรุงงานตลอดเวลา
3.2.6
วัดความสามารถของนักเรียนได้หลายด้าน
3.2.7
เป็นกิจกรรมที่สอดแทรกอยู่ในสภาพการเรียนประจำวันที่มีประโยชน์ต่อนัเรียนในสภาพจริง
3.3 ประเภทของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงาน
สามารถรวบรวมเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
3.3.1 แฟ้มสะสมส่วนบุคคล
เช่น ความสามารถ กีฬา งานอดิเรก สัตว์เลี้ยง การท่องเที่ยว เป็นต้น
3.3.2
แฟ้มสะสมงานวิชาชีพ เช่น แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ในการสมัครงาน เป็นต้น
3.3.3
แฟ้มสะสมงานวิชาการ เช่น
แฟ้มสะสมงานเพื่อใช้ประเมินผลหารผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นต้น
3.3.4 แฟ้มสะสมงานสำหรับโครงการ
เช่น แฟ้มโครงการอาหารกลางวันในแฟ้มประกอบไปด้วยเอกสารโครงการ เป็นต้น
3.4 องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานเป็นการเก็บรวบรวมผลงานที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนมีองค์ประกอบสำคัญไว้ดังนี้
3.4.1 จุดมุ่งหมาย
กำหนดขึ้นเพื่อใช้ตัดสินว่าแฟ้มสะสมงานจะใช้อธิบายหรือจัดอะไร
จุดมุ่งหมายเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
จุดมุ่งหมายที่ชัดเจนช่วยป้องกันไม่ให้นักเรียนทำงานมากเกินความจำเป็น
แต่หลักฐานแต่ละชิ้นในแฟ้มสะสมงานจะต้องสร้างสรรค์
และจัดระบบความที่แสดงให้เห็นถึงความชำนาญ หรือความก้าวหน้าตามจุดประสงค์
3.4.2 หลักฐานหรือชิ้นงาน ประกอบด้วยหลักฐานและแนวทางต่าง
ๆ ที่นักเรียนเลือกเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการบรรลุจุดประสงค์
3.5 ประโยชน์ของแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ในการแสดงผลงานของผู้เรียนที่สอดคล้องกับความสามารถที่แท้จริง
แฟ้มสะสมงานมีประโยชน์ต่อผู้สอน ดังนี้
3.5.1 ใช้ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3.5.2
ทำหน้าที่ในการสะท้อนความสามารถรวมออกมาเป็นผลงานชิ้นงานสุดท้าย
และทำหน้าที่ในการสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการทำงานของนักเรียนได้ทุกขั้นตอน
3.5.3
แฟ้มสะสมงานจะทำให้ครูสามารถหาจุดเด่นของนักเรียนได้มากกว่าจุดด้อย
3.5.4 ทำหน้าที่สำคัญในการแจ้งผลการสำเร็จของนักเรียนให้บุคลลที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
3.5.5 การเก็บสะสมงาน
งานทุกชิ้นที่พิจารณาคัดเลือกไว้ต้องเขียน ชื่อ วัน เดือน ปี
แปะติดไว้ให้สามารถประเมินความเจริญงอกงามหรือพัฒนาการของนักเรียน
3.6 กระบวนการทำแฟ้มสะสมงาน
แฟ้มสะสมงาน จะเป็นแฟ้มสะสมงานที่สมบูรณ์
มีค่าเมื่อมีการจัดกระทำอย่างเป็นระบบหรือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง
การทดสอบและการใช้เกรด (Testing and Grading)
การทดสอบ
เป็นการนำข้อของคำถามที่สร้างขึ้นไปกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการออกมา
โดยสามารถสังเกตและวัดได้ การทดสอบนี้มักจะใช้ในการวัด และการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่
ใช้ในการจำแนกได้ดังนี้
1.จำแนกตามลักษณะการกระทำ
ได้แก่
1.1 แบบทดสอบแบบให้ลงมือกระทำ ได้แก่ แบบทดสอบภาคปฏิบัติทั้งหลาย เช่น
การทดสอบวิชาพละศึกษา
1.2 แบบทดสอบแบบเขียนตอบ ได้แก่ การทดสอบที่ให้ผู้สอบต้องเขียนตอบในกระดาษและการใช้การเขียนเกณฑ์
เช่น แบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบความเรียง เป็นต้น
1.3 แบบทดสอบปากเปล่า
เป็นแบบทดสอบที่ผู้สอบต้องตอบด้วยวาจาแทนการเขียนตอบ หรือการปฏิบัติ
2
จำแนกตามสมรรถภาพที่ใช้วัด ได้แก่
2.1
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาการที่ได้จากการเรียนรู้
2.2
แบบทดสอบความถนัด เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถทางสมอง ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่าง
ๆ
2.3
แบบทดสอบบุคลิกภาพและสถานภาพทางสังคม เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดบุคลิกภาพของคน เช่น
เจตคติ ความสนใจ ค่านิยม นิสัย ความเชื่อ การปรับตัว เป็นต้น
3.จำแนกตามลักษณะการตอบ ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
3.1 แบบทดสอบความเรียง เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้ตอบหาคำตอบและเรียบเรียงคำตอบขึ้นเอง
ผู้ตอบสามารถแสดงความรู้ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
3.2 แบบทดสอบปรนัย เป็นแบบทดสอบที่มุ่งให้ผู้ตอบตอบเพียงสั้น ๆ
หรือเลือกคำตอบจากที่กำหนดไว้
แบบทดสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน
แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
แต่ละชนิดมีจุดมุ่งหมายและความสามารถในการวัดต่างกัน
แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในการเรียนการสอนนั้นเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้นเอง
โดยจำแนกตามลักษณะการตอบเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง เป็นแบบทดสอบที่ให้คำตอบโดยไม่มีขอบเขตของคำตอบที่แน่นอนไว้
การตอบใช้การเขียนบรรยายหรือเรียบเรียบคำตอบอย่างอิสระตามความรู้ ข้อเท็จจริง
นอกจากกำหนดด้วยเวลา ส่วนมากขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบเป็นสำคัญ
2. แบบทดสอบแบบปรนัย แบบทดสอบแบบนี้จะกำหนดคำถามและคำตอบไว้ให้
โดยผู้ตอบจะต้องอ่านด้วยความพินิจพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคำตอบ
แบบทดสอบแบบปรนัยนี้มีลักษณะเด่นที่ผู้ตอบจะต้องใช้เวลาส่วนมากไปในการอ่านและคิด
กล่าวสรุปแล้วแบบสอบหรือข้อสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนทั้งแบบทดสอบแบบอัตนัยหรือความเรียง
และแบบทดสอบแบบปรนัยต่างมีข้อจำกัดด้วยกันทั้งคู่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่นำไปใช้
ตามตารางที่ 23 ดังนี้
ตารางที่
23 ข้อดีและข้อจำกัดของแบบทดสอบแบบอัตนัย
หือความเรียง และแบบทดสอบแบบปรนัย
แบบทดสอบแบบอัตนัย/แบบความแบบ
|
แบบทดสอบปรนัย
|
1. ผู้สอบมีจำนวนไม่มากนัก
2.
ต้องการสอบวัดความสามารถที่ซับซ้อน
3.
ต้องการส่งเสริมทักษะเชิงความคิดและการแสดงออก
4.
ผู้สอบต้องมีความสามารถในการเขียนและทักษะทางภาษาที่ดี
5.
ต้องการวัดทักษะและความรู้สึกนึกคิดอื่นด้วยนอกจากวัดผลสัมฤทธิ์
6. มีเวลาออกข้อสอบน้อย
แต่มีเวลาตรวจข้อสอบมาก
|
1. ผู้สอบมีจำนวนมาก
2.
ต้องการนำข้อสอบไปวิเคราะห์และเก็บไว้ใช้อีก
3.
ต้องการสอบวัดรายละเอียดเนื้อหาย่อย
4.
ไม่ต้องการวัดทักษะและความรู้สึกนึกคิดอื่นนอกจากผลสัมฤทธิ์
5.
มีเวลาออกข้อสอบมากและต้องการผลสอบเร็ว
|
สรุป
การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
จะทำให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ
เพราะการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนอาศัยการประเมินตัวต่อตัว ประเมินกลุ่มย่อยและการทดลองภาคสนาม
การออกแบบการเรียนการสอนจะทำให้การประเมินในลักษณะนี้มีความชัดเจนขึ้นและใช้การประเมินแบบอิงเกณฑ์
โดยประเมินผู้เรียนแต่ละคนเปรียบเทียบกับจุดประสงค์
หรือจุดหมายและระดับคุณภาพที่กำหนดไว้ ผู้เรียนจะติดนิสัยที่พึงปรารถนาให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย
ผู้จะติดนิสัยการให้ความร่วมมือ จะทำให้สังคมได้เยาวชน
และผู้ประกอบวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ส่วนกลุ่มที่มีการแข่งขันกันนั้นควรจะเป็นการเสริมแรงทางบวก คือ
การแข่งขันกับตนเองเพื่อที่จะเอาชนะใจตนเอง มีวินัยในตนเอง และพัฒนาตนเองในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น