บทที่ 6
การบูรณาการความรู้
(Integrated
Knowledge)
I : การบูรณาการความรู้ (Integrated
Knowledge) การเชื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวข้องภายในศาสตร์ต่างๆ
ของรายวิชาเดียวกันหรือหลากหลายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง
ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated learning Management) เป็นกระบวนการจัดประสบการณ์โดยเชื่อมโยงสาระความรู้ของศาสตร์ต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ทักษะ และเจตคติ
การบูรณาการความรู้หมายถึง
การโยงความรู้ หรือการสร้างความสัมพันธ์และรวมแนวคิดเป็นหนึ่งเดียวในสถานการณ์ต่างๆ
การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนึ่งเดียวกัน
และเป็นความรู้ที่ลุ่มลึกและยั่งยืน การบูรณาการความรู้เป็นสิ่งจำเป็น
โดยเฉพาะในยุคที่มีความรู้ ข้อมูล ข่าวสารมาก
การบูรณาการความรู้อาจเขียนเป็นลำดับความสัมพันธ์ได้ดังนี้ เริ่มจากข้อมูล (data) สารสนเทศ (information) – ความรู้ (knowledge) ปัญญา (wisdom) เป้าหมายหลักของการเรียนรู้คือเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ถือว่าสำคัญในเรื่องที่กำหนด
หรือกล่าวอีกในหนึงเพื่อแสวงหาและรวบรวมความรู้ นวัตกรรมด้านการศึกษาจำนวนมาก
ไม่สนใจความสำคัญของความรู้ด้านเนื้อหา แต่นักเรียนที่เรียนแบบบูรณาการความรู้
โดยการสำรวจ การจัดจำแนก การจัดการ และการสังเคราะห์ความคิดและข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินประสบการณ์และแก้ปัญหาบรรจุอยู่ในหลักสูตร
เรียกว่าหลักสูตรบูรณาการ (Integrated Knowledge)
โดยนำความคิดหลักในวิชามาสัมพันธ์กันเป็นการเชื่อมโยงในแนวนอน ระหว่างหัวข้อ
และเนื้อหาต่างๆ ที่เป็นความรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย
และจิตพิสัย และสัมพันธ์กับวิชาอื่นด้วย
แนวการจัดการเรียนการสอนแบบบูณาการ
การพัฒนาผู้เรียนตามความสารถที่แตกต่างกันจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถทุกด้าน
ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner
อ้างในวิชัย วงษ์ใหญ่, 2542 : 8 - 11)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้นำเสนอทฤษฎีพหุปัญญา (multiple intelligence
theory) สรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความสามารถทั้ง 8 ด้าน คือ ด้านภาษา
ด้านตรรกและคณิตศาสตร์ ด้านภาพมิติสัมพันธ์ ด้านร้างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี
ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านความเข้าใจสภาพธรรมชาติ
การเสริมสร้างความเก่งหรือศักยภาพความสามารถด้านต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียน
ผู้สอนจะต้องเข้าใจผู้เรียน รู้ถึงความถนัด ความสามารถในการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อจะกระตุ้นความสามารถต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนให้มีความเด่นชัดปรากฎออกมาด้วยความรู้ความเข้าใจ
ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีความอดทนในการสังเกตประเมินผลจากการเรียนรู้ของผู้เรียน
การพัฒนาความสามารถผู้สอนจึงมีหน้าที่ค้นหาความสามารถของผู้เรียนว่าเด่นและด้อยในเรื่องใดบ้าง
เพื่อจัดกิจกรรมสนับสนุนช่วยเหลือความสามารถในแต่ละด้านของผู้เรียนให้พัฒนาไปให้เต็มศักยภาพของตน
แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 มาตรา 23 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ ซึ่งวิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 2) กล่าวว่า การบูรณาการ คือการผสมผสานที่กลมกลืนกันอย่างมีคุณภาพ
ระหว่างองค์ประกอบหรือปัจจัยต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่มีเป้าหมายตรงกัน
เพื่อให้ได้สิ่งใหม่หรือสภาพใหม่ที่มีคุณค่าและสมบูรณ์แบบ
โดยมีอัตราส่วนผสมที่มอบหมายภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ
จะได้ประโยชน์จากการบูรณาการสู่ชีวิตและการเรียนรู้
การบูรณาการการเรียนรู้
คือ การเชื่อมโยงระหว่างสาขาวิชาต่างๆ ในหลักสูตร
จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้
มีประโยชน์และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
ลักษณะการเรียนรู้จะจัดเป็นหน่วยการเรียนรู้หรือเป็นหัวเรื่อง
หน่วยบูรณาการ thematic
approach จะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้คือ
-
ผู้เรียนเรียนอย่างมีความหมาย
- เกิดองค์ความรู้
ความคิดแบบองค์รวม พัฒนาความสามารถการคิด
- เห็นความเชื่อมโยง
นำไปสู่ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบองค์รวม
- เกิดประสบการณ์
นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
- ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2547 : 4) กล่าวสรุปว่า ลักษณะการบูรณาการ 4 แบบ คือ
1. การสอดแทรก (infusion)
การบูรณาการแบบเชื่อมโยงโดยผู้สอนคนเดียว วิธีการสอดแทรกนี้
ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งนำวิชาอื่นๆ
มาบูรณาการกับวิชาที่ตนสอนและสามารถเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้แบบต่างๆ
ให้เชื่อมโยงกับหัวเรื่อง ชีวิตจริงหรือภาระการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นมา
2. คู่ขนาน (parallel) วิธีการคู่ขนานผู้สอนหลายคนมาจากหลายวิชาวางแผนร่วมกัน
รวมองค์ประกอบของหัวเรื่อง (theme)
มโนทัศน์( Concept) หรือปัญหา( problem
) แล้วผู้สอนแต่ละคน
แต่ละวิชาแยกกันและทำการกำหนดชิ้นงานขึ้นอยู่กับผู้สอน
แต่ต้องสะท้อนถึงหัวเรื่องแนวคิดหรือปัญหาที่กำหนดไว้ร่วมกัน
การบูรณาการแบบคู่ขนานในการสอน
ผู้สอนอาจตกลงกันว่าจะยึดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ที่สอดคล้องกับการพัฒนาสังคมและชีวิตที่มีการเชื่อมโยงคู่ขนาน เช่น
ผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์จะสอนเรื่องเงา ผู้สอนศิลปะอาจจะให้ผู้เรียนรู้เทคนิคการวาดรูปที่มีเงา
3. พหุวิทยาการ multidisciplinary
วิธีการพหุวิทยาการผู้สอนหลายคนมาจาหลายสาขาวิชา
มาวางแผนร่วมกันที่จะสอนเกี่ยวกับหัวเรื่อง (theme) มโนทัศน์ (Concept) หรือปัญหา
(problem) และก็หมดภาพรวมของโครงการการร่วมกันให้ออกมาเป็นชิ้นงานแบ่งโครงการออกเป็นโครงการย่อย
การบูรณาการในหลายสาขาผู้สอนร่วมมือกันสอนเป็นแบบโครงการ
หนูใช้องค์ความรู้จากหลายๆสาขาวิชา
ทำให้ผู้เรียนสามารถวางแผนสร้างสรรค์โครงการของตนเองขึ้นมาได้
โดยใช้เวลาการเรียนต่อเนื่องได้หลายชั่วโมง
4. การข้ามวิชาหรือการสอนเป็นทีม
(transdisciplinary)
วิธีการข้ามวิชาหรือสอนเป็นทีมของผู้สอนแต่ละรายวิชาวางแผนร่วมกันในองค์ประกอบของหัวเรื่อง
(theme) มโนทัศน์ Concept มีปัญหา (problem) กำหนดเป็นโครงสร้างขึ้นมาและร่วมกันสอนเป็นคณะ
กรมวิชาการ(การวิจัยทางการศึกษา
กรมวิชาการ, 2545 : 6-7 ) เสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการไว้
ดังนี้
1. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว
แผนการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนหนึ่งคน มีการเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่างๆ
กับชีวิตจริง การเชื่อมโยงสาระและกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่มสาระต่างๆ เช่น
การอ่าน การเขียน คิดคำนวณ การวิเคราะห์
ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากเนื้อเรื่องที่กำหนด
2. การบูรณาการแบบคู่ขนาน
เป็นการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน 2
คนขึ้นไปร่วมกันจัดการเรียนการสอนโดยยึดหัวข้อใดข้อหนึ่ง เช่น
ครูคนหนึ่งสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สวนครูคนหนึ่งสอนวิชาคณิตศาสตร์ รายการสอนเรื่อง
“น้ำ” วิชาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำสถานะต่างๆ
ส่วนวิชาคณิตศาสตร์อาสาสอนการวัดปริมาตร หรือน้ำหนักของน้ำ
3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ
แผนการจัดการเรียนการสอนจากการนำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงและจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน
เช่น ในวันสิ่งแวดล้อม
ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้เรียนศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์
จัดกิจกรรมค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษาและวิชาสุขศึกษาให้เรียนรู้โดยทำกิจกรรมชมรมสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เป็นต้น
4. การบูรณาการแบบโครงการ
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนและนักเรียนร่วมกันสร้างสรรค์โครงการ
และใช้เวลาเรียนต่อเนื่องกันได้หลายชั่วโมง
โดยการนำจำนวนชั่วโมงของแต่ละรายวิชาที่แยกกันอยู่ ที่เคยแยกกันสอน
มารวมเป็นเรื่องเดียวกัน กำหนดเป้าหมายเดียวกัน ไปลักษณะของการสอนเป็นทีม
ถ้าต้องการเน้นทักษะเฉพาะก็สามารถแยกกันสอนได้ เช่น กิจกรรมเข้าค่ายภาษาอังกฤษ
กิจกรรมค่ายศิลปะ เป็นต้น
วิชัยวงษ์ใหญ่( 2547
: 5) สรุปภาพรวมของรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการ วิธีการ กิจกรรม
การประเมินผล และการเรียนรู้ ไว้ดังนี้
ตารางที่
22
รูปแบบการบูรณาการ วิธีการ/กิจกรรม การประเมิน
และผลการเรียนรู้
การบูรณาการ
|
วิธีการ/กิจกรรม
|
การประเมิน
|
ผลการเรียนรู้
|
สอดแทรก
|
ผู้สอนกำหนดหัวเรื่องและสอดแทรกสาระจากวิชาอื่นๆ
เข้ามาในวิชาของตนและมอบหมายงานตามที่กำหนด
|
ประเมินจากงานที่มอบหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด
|
ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาและเรียนรู้อย่างมีความหมาย
|
คู่ขนาน
|
ผู้สาวหลายคนวางแผนร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง
ความคิดรวบยอด ปัญหา สถานการณ์ ผู้สอนแต่ละคนสอนวิชาของตนภายในหัวเรื่องเดียวกัน
และมอบหมายงานโครงงานทำร่วมกันเป็นโครงงานย่อยของแต่ละรายวิชาให้กับผู้เรียน
|
ประเมินโครงงานและชิ้นงานที่มอบหมายตามที่กำหนด
|
ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากวิชาต่างๆมาสร้างสรรค์งานได้และเรียนรู้อย่างมีความหมาย
|
พหุวิทยา
|
ผู้สอนรายคนวางแผนการสอนร่วมกัน
โดยกำหนดหัวเรื่องความคิดรวมยอด ปัญหา สถานการณ์
แล้วผู้สอนแต่ละคนต่างแยกกันสอนภายใต้หัวเรื่องเดียวกัน
|
ประเมินโครงงานหรือชิ้นงานที่มอบหมายตามเกณฑ์กำหนด
|
ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากวิชาต่างๆ
มาสร้างสรรค์งานและได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย มีประสบการณ์
|
สอนเป็นทีมหรือข้ามวิชา
|
ผู้สอนหลายคนวางแผนร่วมกันสอนเป็นทีม
โดยกำหนดหัวเรื่อง ความคิดรวมยอด ปัญหา สถานการณ์ สาระ จุดประสงค์
ร่วมกันสอนเป็นทีมในเรื่องเดียวกันตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดให้กับผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน
สอนกำหนดโครงการทีมงานให้ผู้เรียนทำร่วมกันเป็นงานใหญ่ชิ้นเดียว
มีกิจกรรมการแสวงหาความรู้ การปฏิบัติงานร่วมกัน
|
ประเมินโครงงานและชิ้นงานที่มอบหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด
|
ผู้เรียนมีความรู้ในการเชื่อมโยงสาขาวิชาต่างๆ
นำความรู้มาสร้างสรรค์โครงการ ชิ้นงานได้และเรียนรู้อย่างมีความหมาย
มีประสบการณ์ มีศักยภาพในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
|
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้เรียนรู้
โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลสื่อ
และสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น
คำถามคือ ผู้สอนจะมีวิธีการหรือเทคนิคที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆ ได้อย่างไร
ครูสอนทั่วไปยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โดยเข้าใจว่า การให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ด้วยตนเองคือ การปล่อยให้ผู้เรียน
เรียนรู้กันเองดูที่สอนไม่ต้องมีบทบาทอะไร ผู้ชายวิธีสั่งให้ผู้เรียนไปที่ห้องสมุด
อ่านหนังสือกันเองแล้วเขียนรายงานมาส่งซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องแม้ว่าการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ตัวผู้เรียน
เป็นลักษณะที่ถูกต้องของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
รายการที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก
สอนจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่างๆ นำทางไปสู่ การเรียนรู้
โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง ถ้าจะจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้โดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล
ผู้สอนจะต้องสำรวจให้ดูก่อนว่าภายในห้องสมุดมีข้อมูลอะไรบ้าง อยู่ที่ใด
จะค้นหาได้อย่างไร แล้วจึงวางแผนสั่งการ
ผู้หญิงต้องดูเป้าหมายของการค้นหาจากคำสั่งที่ผู้สอนให้
รวมถึงการแนะแนวทางที่จะทำงานให้สำเร็จ และในขณะที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ
ผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวก นำข้อมูลมาปรับปรุง
การจัดการเรียนการสอนครั้งต่อไป
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้สอนอีกประการหนึ่ง
คือ
สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้ผู้เรียนได้นั่งรวมกลุ่มกันโดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มนั้นทำเพื่ออะไร
ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ เมื่อผู้เรียนจะต้องทำงานร่วมกัน
จึงจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกันเป็นกลุ่ม ไม่ใช่นั่งรวมกลุ่มกันแต่ต่างคนต่างทำงานของตัวเอง
การจัดให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน
สอนจะต้องกำกับดูแลให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมีบทบาทในการทำงาน
ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนควรศึกษาเป็นแนวทางนำไปใช้ในเทคนิคในการจัดกิจกรรม
คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative
Learning)
วิทยากร
เชียงกูล (2549)
ได้กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกันเป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
กลุ่มละ 4-5 คน สมาชิกในกลุ่มมีระดับความสามารถแตกต่างกัน สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการสร้างการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
มีเป้าหมายและมีโอกาสได้รับรางวัลของความสำเร็จร่วมกัน
วิธีการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงบวก
มาปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากัน ถ้ามีโอกาสรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่มได้พัฒนาทักษะสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง
คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไปใช้ในการดำเนินชีวิต
สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน
ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ลูกเรียนต้องแก้ปัญหาและนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้
เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น
ให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบทประพันธ์ในในวิชาวรรณคดี
ผู้สอนได้สอนให้เข้าใจโดยการตีความและแปลความแล้ว
หรือในวิชาที่มีเนื้อหาของการปฏิบัติ เมื่อวานกิจกรรม
การเรียนรู้แล้วผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ฝึกทำงาน ปฏิบัติซ้ำอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชำนาญ
ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้
ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงความสามารถในลักษณะต่างๆ
เปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย
เธอตอบสนองความสามารถเฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
นอกจากการใช้เทคนิคการออกคำสั่งให้ผู้เรียนแสดงการทำงานในลักษณะต่างๆ แล้ว
ผู้สอนอาจใช้วิธีการสอนบางวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ในสถานการณ์อื่นๆได้เช่นกัน
ตัวอย่าง
วิธีการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน
ผู้สอนเป็นผู้กำกับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ร่วมกันวางแผน ดำเนินการตามแผน
และร่วมกันสรุปผลงาน ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดงความสามารถที่ตนเองถนัด
เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า การเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
ซึ่งสามารถทำอย่างต่อเนื่องกันได้ โดยมีประเด็นดังนี้
1.
ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองสนใจ
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้เพื่อหาคำตอบด้วยตนเองโดยการคิดและปฏิบัติจริง
3.
วิธีการหาคำตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
4.
นำข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคำตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
5.
มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบที่สมควร
6.
คำตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
7. ผู้เรียนมีโอกาสเลือก วางแผน
และจัดการนำเสนอคำตอบของปัญหาหรือผลของการค้นพบด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา
สำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา (2553
หน้า 119-128) การบูรณาการตามตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา มีลักษณะดังนี้
(อ้างถึงใน สำนักบริการวิชาการและจัดหารายได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร)
1. การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน
บูรณาการดังนี้
1.1 กรณีที่นักศึกษาบัณฑิตศึกษาเป็นทีมวิจัยของอาจารย์
ตัวยาจะมีงานวิจัยในลักษณะชุดโครงการวิจัยที่เป็นร่มใหญ่และมีงานวิจัยย่อย
ดูนักศึกษาเข้าเป็นทีมในการวิจัยของอาจารย์ในชุดย่อยและมีอาจารย์ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการชุดใหญ่
ให้คำแนะนำปรึกษา นักศึกษาจะได้ฝึกฝนกระบวนการวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ
ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะในกระบวนการทำวิจัย
1.2
กรณีที่นักศึกษาปริญญาตรีทำโครงการวิจัย หรืองานสร้างสรรค์
ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์
เป็นการออกแบบการเรียนการสอนด้วยการมอบหมายงานนักศึกษาในรูปแบบที่เป็นองค์ประกอบงานวิจัย
โดยมีอาจารย์ควบคุม ดำเนินงานเป็นระยะๆ แต่ไม่ใช่รายวิชาวิจัย
หรืออาจารย์มีโครงการวิจัยและให้นักศึกษาร่วมเป็นทีมทำการวิจัยที่มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน
หรือให้นักศึกษา เป็นผู้ช่วยนักวิจัยในโครงการวิจัย (Under Study
Concept) พี่มีแผนการวิจัยชัดเจนว่านักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการใดบ้าง
เช่น การทบทวนเอกสาร การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
ซึ่งวิธีนี้ต่างจากวิธีแรกที่นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทำวิจัยครบทุกขั้นตอน
แต่วิธีที่สองนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้บางส่วนของการวิเท่านั้น
งั้นอาจารย์ควรดำเนินการเพิ่มเติมให้นักศึกษาได้เรียนรู้ครบทุกกระบวนการด้วย
1.3 ที่นักศึกษาทุกระดับ
ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกเข้าฟังการบรรยายหรือสัมมนา
เกี่ยวกับผลความก้าวหน้าในงานวิจัยของอาจารย์ หรือ
เข้าร่วมการจัดแสดงงานสร้างสรรค์ของอาจารย์
เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์โดยตรงจากผู้เชี่ยวชาญ
แต่วิธีการนี้นักศึกษาต้องมีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงานอาจทำให้นักศึกษาเข้าร่วมงานได้บางส่วนเท่านั้น
อาจารย์
ควรมอบหมายงานให้ผู้ที่เข้าร่วมงานสรุปสิ่งที่ได้จากการเข้ารับฟังการบรรยายหรือสัมมนาเกี่ยวกับการวิจัย
และนำมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
1.4
จัดให้มีการประชุมเสนอผลงานวิจัยหรือแสดงงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา
เสริมศึกษาเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ
1.5
การส่งเสริมให้อาจารย์นำผลลัพธ์ที่เกิดจากการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในการจัดการเรียนการสอน
หมายถึงอาจารย์มีผลงานวิจัยที่สอดคล้องกับรายวิชาที่สอนและนำองค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยมาใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอน
เพราะการวิจัยทำให้มีการค้นพบความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
ทำให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ในการนำผลงานวิจัยมาใช้ส่วนนั้นต้องเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนเองไม่สามารถนำผลงานวิจัยของบุคคลอื่นที่เป็นภายนอกมาไม่เรียกว่าเกิดการบูรณาการ
2.
การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคม
การบริการวิชาการหมายถึง
กิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันหรือเป็นการให้บริการที่จัดในสถาบันแต่ต้องเป็นการจัดให้กับบุคคลภายนอก
ประเภทของการบริการวิชาการมีดังนี้ประเภทให้เปล่าโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร
เป็นลักษณะงานบริการวิชาการหรือกิจกรรมที่จัดเพื่อบริการสังคม
โดยมหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณ
และ/เธอมีองค์กรช่วยสนับสนุนในการลงทุนสำหรับการจัดกิจกรรม และให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ร่วมกิจกรรมในการออกค่าใช้จ่าย
ด้วยอีกส่วนหนึ่ง
และประเภทหารายได้เป็นลักษณะงานบริการวิชาการหรือกิจกรรมที่จัดเพื่อบริการบุคคล /
กลุ่มบุคคล / องค์กร ภาครัฐ และเอกชน โดยผู้เข้าอบรมต้องเสียค่าใช้จ่าย
(การบริการวิชาการมหาวิทยาลัย มหิดล, 2556) การบูรณาการวิชาการ
แก่สังคม สามารถดำเนินการได้ดังนี้
2.1
การบูรณาการงานบริหารทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนปกติ
และมีการกำหนดให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้รับจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรม
ไปบริการวิชาการให้กับบุคคลภายนอก
2.2 การบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยเป็นการนำเสนอองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์
คุณการนำความ
ประสบการณ์จากการบริการวิชาการกลับมาพัฒนาต่อยอดความรู้ใหม่โดยผ่านกระบวนการวิจัย
3.
การบูรณาการการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน
สถาบันควรสนับสนุนให้มีการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอน
คือมีการจัดการเรียนการสอนที่นำการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไทยผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน
ถ้ามีการบูรณาการกำหนดให้มีการประเมินความสำเร็จของการบูรณาการ
และมีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมการจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ
นักการศึกษาไทยได้พยายามที่จะเสนอแนวคิดเพื่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนการสอนของไทยตลอดมา
ในหนังสือนี้ได้ประมวลอาชีพที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมานำเสนอ ได้แก่
1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4
โดย สาโรช บัวศรี
2. กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน
อมรวิวัฒน์
3. กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ วะสี
4. กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
5. กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์
6.
วิธีการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
7. กระบวนการสอนค่านิยมและจริยธรรม โดย
โกวิท ประวาลพฤกษ์
8. กระบวนการต่างๆ โดย กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ
8.1 ทักษะกระบวนการ 9 ขั้นตอน
8.2
กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
8.3
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
8.4 กระบวนการแก้ปัญหา
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
8.9 กระบวนการกลุ่ม
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
8.12
กระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
1. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ
4 โดย สาโรช บัวศรี
สาโรช บัวศรี (2526)
ห*นักศึกษาไทยผู้มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูงในวงการศึกษาท่านนี้เป็นผู้ริเริ่มจุดประกายความคิดในการนำหลักพุทธธรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมานานกว่า
20 ปีมาแล้ว ดูการประยุกต์หลักอริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
มาใช้เป็นกระบวนการแก้ปัญหา โดยใช้ควบคู่กับแนวทางปฏิบัติที่เรียกว่า กิจในอริยสัจ
4 อันประกอบด้วย ปริญญา (การกำหนดรู้) ปหานะ (การละ) สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง)
และภาวนา (การเจริญหรือการลงมือปฏิบัติ) จากทั้งสองท่านใด้เสนอแนะการสอนกระบวนการแก้ปัญหาให้เป็นขั้นตอน
ดังนี้
1. ขั้นกำหนดปัญหา (ขั้นทุกข์)
คือ การให้ผู้เรียนระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไข
2.
ขั้นตั้งสมมติฐาน (ขั้นสมุทัย)
คือการให้ผู้เรียนวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและตั้งสมมติฐาน
3.
ขนาดทดลองและเก็บข้อมูล (ขั้นนิโรธ)
คือการให้ผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานและเก็บรวบรวมข้อมูล
4.
การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล (ขันมรรค) คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุป
2.
กระบวนการกัลยาณมิตร โดย สุมน อมรวิวัฒน์
สุมน อมรวิวัฒน์ (2524 : 196-199)
ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
สาขาการศึกษาคณะครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และกิตติเมธีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อธิบายกระบวนการกัลยาณมิตรไว้ว่า
เป็นกระบวนการประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ 1.
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ 2.
ชี้สุขเกษมศานต์กระบวนการกัลยาณมิตรใช้หลักการที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นหลักที่ช่วยให้คนพ้นทุกข์ได้
คือ หลักอริยสัจ 4 มาใช้คู่กับหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 ในการจัดการเรียนการสอน
คุณมีกระบวนการหรือขั้นตอนแต่ละขั้นตอนด้วยกันดังนี้
2.1
หาสร้างความไว้ใจตามหลักกัลยานมิตรธรรม 7 ได้แก่
การที่ผู้สอนวางตนให้เป็นผู้ที่น่าเคารพรัก เป็นที่พึงแก่ผู้เรียนได้
มีความรู้และฝึกหัดอบรมและปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ สามารถสื่อ
ชี้แจงให้เกิดความเข้าใจ แจ่มแจ้งมีความอดทน พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา และมีความตั้งใจสอนด้วยความเมตตา
ช่วยให้ผู้เรียนพ้นจากทางเสื่อม
2.2
การกำหนดและจับประเด็นปัญหา (ขั้นทุกข์)
2.3
การร่วมกันคิดวิเคราะห์เหตุของปัญหา (ขั้นสมุทัย)
2.4
การจัดลําดับความเข้มของระดับปัญหาขั้นสมุทัย
2.5 การกำหนดจุดหมาย
สภาวะบนปัญหา (ขั้นนิโรธ)
2.6
การร่วมกันคิดวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา (ขั้นนิโรธ)
2.7
การจัดลำดับจุดหมายของภาวะพ้นปัญหา (ขั้นนิโรธ)
2.8
การปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาตามแนวทางที่ถูกต้อง (ขั้นมรรค)
3. กระบวนการทางปัญญา โดย ประเวศ
วะสี
ประเวศ วะสี (2542) นักคิดคนสําคัญของประเทศไทย
ผู้มีบทบาทอย่างมากในการกระตุ้นให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาขึ้น
ท่านได้เสนอกระบวนการทางปัญญา ซึ่งควรฝึกฝนให้แก่ผู้เรียน ประกอบด้วยขั้นตอน 10
ขั้น ดังนี้
3.1
สังเกตให้ผู้เรียนมีโอกาสสังเกตสิ่งต่างๆ ให้มาก ให้รู้จักสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3.2 ฝึกบันทึก
ให้ผู้เรียนสังเกตสิ่งต่างๆ จดบันทึกรายละเอียดที่สังเกตเห็น
3.3 ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุม
โรงเรียนได้ไปสังเกตหรือทำอะไร
หรือเรียนรู้อะไรมาให้ฝึกนำเสนอเรื่องงานต่อที่ประชุม
3.4 ฝึกการฟัง
การฟังผู้อื่นช่วยให้ได้ความรู้มาก โรงเรียนจึงควรได้รับการฝึกให้เป็นผู้ฟังที่ดี
3.5 ฝึกปุจฉา - วิสัชนา
ให้ผู้เรียนฝึกการถาม - การตอบ
ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องที่ศึกษา รูปดังนี้คือการใช้เหตุผล
รายการสังเคราะห์
3.6 ตั้งสมมติฐานและคำถาม
ให้ผู้เรียนฝึกคิดและตั้งคำถาม
เพราะคำถามเป็นเครื่องมือสำคัญในการได้มาซึ่งความรู้ไปจึงให้ผู้เรียนฝึกตั้งสมมติฐานและหาคำตอบ
3.7 การค้นหาคำตอบ
เมื่อมีคำถามและสมมติฐานแล้ว ควรให้ผู้เรียนฝึกค้นหาคำตอบจากแหล่งต่างๆ เช่น
หนังสือ ตำรา อินเทอร์เน็ต หรือไปสอบถามจากผู้รู้ เป็นต้น
3.8 ฝึกการวิจัย
วิจัยเป็นกระบวนการหาคำตอบที่ช่วยให้ผู้เรียนค้นพบองค์ความรู้ใหม่
3.9 ฝึกเชื่อมโยงบูรณาการ
บูรณาการให้เห็นความเป็นทั้งหมด
และเกิดการรู้ตัวเองตามความเป็นจริงว่าสัมพันธ์กับความเป็นทั้งหมดอย่างไร อันจะทำให้เกิดมิติทางจริยธรรมขึ้น
ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3.10
ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ
หลังจากที่ได้เรียนรู้เรื่องใดแล้วควรให้ผู้เรียนฝึกเรียบเรียงความรู้ที่ได้
เนื้อเพลงจะช่วยให้ความคิดประณีตขึ้น ทำให้ต้องค้นคว้าหาหลักฐานที่มาของความรู้ให้ถี่ถ้วนแม่นยำขึ้น
การเรียบเรียงทางวิชาการเป็นวิธีการสำคัญในการพัฒนาปัญญาของตน
และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป
4.
กระบวนการคิด โดย ชัยอนันต์ สมุทวณิช
ชัยอนันต์
สมุทวณิช (2542 : 4 – 5 ) นักรัฐศาสตร์
และราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง และผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย นักคิดที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย
ซึ่งหันมาสนใจและพัฒนางานทางด้านการศึกษาอย่างจริงจัง
นักแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของการคิดไว้ว่า การคิดของคนเรามีหลายรูปแบบ
โดยท่านใด้ยกตัวอย่างมา 4 แบบ ได้อธิบายลักษณะของนักคิดทั้ง 4 แบบ ไว้
ซึ่งผู้เขียนขอนำมาประยุกต์เป็นแนวทางในการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดของผู้เรียนได้
ดังนี้
4.1
การคิดแบบนักวิเคราะห์ (Annalytical) ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนาความสามารถในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนแสวงหาข้อเท็จจริง
(fact) ดูตรรกะ (logic) ทิศทาง (direction)
หาเหตุผล แก้ปัญหา (Problem - solving)
4.2
การคิดรวบยอด (Conceptual) ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนให้พัฒนาความสามารถในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนวาดภาพในสมองสร้างความคิดใหม่จากข้อมูลที่ถูกต้องแน่นอน
หรือมองข้อมูลเดิมในแง่มุมใหม่และส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าทำ
4.3
การคิดแบบโครงสร้าง (structural thinking) การฝึกให้ผู้เรียนแยกแยะส่วนประกอบศึกษาส่วนประกอบและเชื่อมโยงข้อมูล
จะเป็นคนสร้างจะทำให้ผู้เรียนมีการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินว่าควรจะทำอย่างไร
4.4
การคิดแบบผู้นำสังคม (Social Thinking) การฝึกให้ผู้เรียนปฏิสัมพันธ์พูดคุยกับผู้อื่น
ทำตัวเป็นผู้อำนวยความสะดวก( Facilitated) ฝึกทักษะกระบวนการทำงานร่วมกันเป็นทีม
(Group process) และฝึกให้คิด 3 ด้านที่เรียกว่า TMI คือด้านบวก (Plus)ด้านลบ (Minus) และด้านที่ไม่บวกไม่ลบจะเป็นด้านที่ไม่สนใจ (Interesting)
5.
วิธีการคิดและกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดย ทิศนา แขมมณี และคณะ
ทิศนา
แขมมณี และคณะ (2543) ได้ศึกษาค้นคว้าและจัดมิติของการคิดไว้ 6 ด้านคือ
5.1
มิติด้านข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด การคิดของบุคคลจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย
2 ส่วน คือ เนื้อหาที่ใช้ในการคิดและกระบวนการคิด
ถ้ามีการคิดอะไรควบคู่ไปกับการคิดอย่างไร
ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่คิดนั้นมีจำนวนมากเกินไปที่จะกำหนดได้ อย่างไรก็ตาม
การจัดกลุ่มใหญ่ๆ ได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง
ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ (โกวิท วรพิพัฒน์ อ้างถึงในอุ่นตา นพคุณ,
2530 : 29 -36)
5.2
มิติด้านคุณสมบัติที่เลือกอำนวยต่อการคิด ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคล
ซึ่งมีผลโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อการคิดและคุณภาพของการ เช่น ใจกว้าง
ความใฝ่รู้ความกระตือรือร้น ความกล้าเสียง เป็นต้น
5.3
วิธีด้านทักษะการคิด หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอนที่บุคคลใช้ในการคิด ซึ่งจัดเป็น
3 กลุ่มใหญ่ คือ ทักษะการคิดขั้นพื้นฐาน (Basic Thinking
Skills) ประกอบด้วยภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น ทักษะการอ่าน การพูด
การเขียน ทักษะการคิดที่เป็นแกน (core thinking Skill ) เช่น
ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ เชื่อมโยง แต่ทักษะการคิดขั้นสูง (Higher
Order Thinking Skills) เช่นทักษะการนิยาม การสร้าง การสังเคราะห์
การจัดระบบ ทักษะการคิดขั้นสูงมากประกอบด้วย กระบวนการ หรือขั้นตอนที่ซับซ้อนมากกว่าทักษะการคิดขั้นที่ต่ำกว่า
5.4
มิติด้านลักษณะการคิด
เป็นประเภทของการคิดที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูง
จำเป็นต้องมีการตีความให้เป็นรูปธรรม
จึงจะสามารถเห็นกระบวนการหรือขั้นตอนการคิดชัดเจนขึ้น เช่น การคิดกว้าง การคิดลึก
การคิดละเอียด เป็นต้น
5.5
มิติด้านกระบวนการคิด เป็นการคิดที่ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลากหลายขั้นตอน
ซึ่งจะนำผู้คิดไปสู่เป้าหมายเฉพาะของการคิดนั้น
ดูขั้นตอนหลักเหล่านั้นจำเป็นต้องอาศัยทักษะการคิดยอดจำนวนมากบ้าง น้อยบ้าง
กระบวนการคิดแก้ปัญหา กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการวิจัยเป็นต้น
5.6
มิติด้านการควบคุมและประเมินการคิดของคน (meta cognition) เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้ในการควบคุมกำกับการรู้คิดของตนเอง
มีผู้เรียกการคิดลักษณะนี้ว่าเป็นการคิดอย่างมียุทธศาสตร์ (strategic
thinking) ซึ่งครอบคลุมการวางแผน การควบคุมกำกับการกระทำของตนเอง
การตรวจสอบความก้าวหน้าและการประเมินผล
นอกจากการนำเสนอวิธีการคิดข้างต้นแล้ว
ทิศนา แขมมณี และคณะ (2543) อยากได้นำเสนอกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical
Thinking) ซึ่งเป็นผลมาจากการสังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการคิดทางของต่างประเทศและของประเทศไทย
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
จุดมุ่งหมายการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เกิดเหตุได้ความคิดรอบคอบสมเหตุสมผล
ผ่านการพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างกว้างลึกซึ้ง ไม่ผ่านการพิจารณากลั่นกรอง
ไตร่ตรอง คุณ โทษ และคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งนั้นมาแล้ว
เกณฑ์ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
ผู้ที่คิดอย่างมีวิจารณญาณ
จะมีความสามารถดังนี้
1 สามารถกำหนดเป้าหมายในการคิดอย่างถูกต้อง
2.สามารถระบุประเด็นในการคิดอย่างชัดเจน
3.สามารถประมวลข้อมูลทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นเกี่ยวกับที่คิดต่างๆ
ด้านกว้าง ทางลึกและไกล
4.
สามารถวิเคราะห์ข้อมูล เลือกข้อมูลที่จะใช้ในการคิดได้
5.
สามารถประเมินข้อมูลได้
6.
สามารถใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล แนะนำเสนอคำตอบ ทางเลือกที่สมเหตุสมผล
7.
สามารถเลือกทางเลือกลงความเห็นในประเด็นที่คิดได้
วิธีการหรือขั้นตอนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
1. ตั้งเป้าหมายในการคิด
2.
ระบุประเด็นในการคิด
3.ประมวลผลข้อมูล
ทั้งทางด้านข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดทั้งทาง กว้าง
ลึกและไกล
4.
วิเคราะห์ จำแนกแยกแยะข้อมูล จัดหมวดหมู่ของข้อมูลและเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้
5. ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง
ความพอเพียง และความน่าเชื่อถือ
6.
ใช้หลักการเหตุผลในการพิจารณาข้อมูลเพื่อแสวงหาทางเลือกคำตอบที่สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี
7.
อยู่ทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมา
และคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น
8.
ชั่งน้ำหนัก ผลได้ ผลเสีย คุณ โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว
9.
ไตร่ตรองทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ
10.
การประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิด
6.
กระบวนการคิด โดย เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2542 ข : 3-4 )
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา นักคิดค้นสําคัญของประเทศ ได้อภิปรายว่า
หากเราต้องการให้ประเทศไทยพัฒนาต่อไปได้ไม่เสียเปรียบ ไม่ถูกหลอกง่าย
สามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้คนไทย คิดเป็น
รู้จักวิธีการคิดที่ถูกต้อง และท่านใดเสนอแนะว่าควรมีการพัฒนาความสามารถในการคิดใน
10 มิติ ให้แก่คนไทย ดูท่านได้ให้ความหมายของการคิดใน 10 มิติดังกล่าวไว้
ซึ่งผู้เขียนขอประยุกต์มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
ดังนี้
มิติที่
1 ความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยฝึกให้ผู้เรียนท้าทาย
และตัวอย่างข้อสมมติฐานที่อยู่เบื้องหลังเหตุผลที่โยงความคิดเหล่านั้น
เพื่อเปิดทางสู่แนวคิดอื่นๆ ที่รักเป็นไปได้
มิติที่
2 ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ ( annalytical thinking
) พัฒนาให้เกิดขึ้นได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนสืบค้นข้อเท็จจริง เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง
โดยการตีความ การจำแนกแยกแยะ รายการทำความเข้าใจ
กับองค์ประกอบของสิ่งนั้นและองค์ประกอบอื่น ที่สัมพันธ์กัน
รวมทางเชื่อมความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
ที่ไม่ขัดแย้งกันระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นด้วยเหตุผลที่หนักแน่น น่าเชื่อถือ
มิติที่ 3
ความสามารถในการคิดเชิงสังเคราะห์ (synthesis type
thinking) และการฝึกให้ผู้เรียนรวมองค์ประกอบที่แยกส่วนกัน
มาหลอมรวมภายใต้โครงร่างใหม่อย่างเหมาะสม
ซึ่งจะช่วยพัฒนาผู้เรียนความสามารถของผู้เรียนในการคิดเชิงสังเคราะห์
มิติที่
4 ความสามารถในการคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking)
การฝึกให้ผู้เรียนค้นหาความเหมือนและ/
หรือความแตกต่างขององค์ประกอบตั้งแต่ 2 องค์ประกอบขึ้นไป
ใช้ในการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งบนมาตรการเดียวกัน
เป็นวิธีการช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดเชิงเปรียบเทียบได้ดี
มิติที่
5 ความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual Thinking) ผู้เรียนจะสามารถพัฒนาทักษะในการคิดแบบนี้ได้โดยการฝึกการนำข้อมูลทั้งหมดมาประสานกันและสร้างเป็นกรอบความคิดใหม่ขึ้นมาใช้ในการตีความข้อมูลอื่นๆ
ต่อไป
มิติที่
6 ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking ) ความสามารถด้านนี้พัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคิดนอกกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่
ทำให้ได้แนวทางใหม่ๆ ไม่เคยมีมาก่อน
มิติที่
7 ความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ (Applicative Thinking)
การคิดประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก
ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนฝึกนำสิ่งต่างๆ
ที่มีอยู่เดิมไปใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์ใหม่
และปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้เข้ากับบุคคล
สถานที่ เวลา และเงื่อนไขใหม่ได้อย่างเหมาะสม
มิติที่
8 ความสามารถในการคิดเชิงตรรกะ (Strategic thinking) ความสามารถในด้านนี้พัฒนาโดยการฝึกให้ผู้เรียนกำหนดแนวทางที่เป็นรูปประธรรมที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
มิติที่
9 ความสามารถในการคิดเชิงบูรณาการ ( Integrative Thinking
) คือการฝึกให้ผู้เรียนเชื่อมโยงเรื่องในมุมต่างๆ
เข้ากับเรื่องหลักๆ ได้อย่างเหมาะสม
มิติที่
10 ความสามารถในการคิดเชิงอนาคต (Futuristic thinking )
เป็นความสามารถในการคิดขั้นสูง
ซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกให้ผู้เรียนคาดการณ์ และประมาณการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยการใช้เหตุผลทางตรรกวิทยา สมมติฐาน
ข้อมูลและความสำคัญต่างๆ ของในอดีตและปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์
ทิศทางหรือขอบเขตทางเลือกที่เหมาะสมอีกครั้งมีพลวัตสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
7.
กระบวนการการสอค่านิยมและจริยธรรม โดย โกวิท ประวาลพฤกษ์
โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2532) นักวิชาการคนสำคัญท่านหนึ่งในวงการการศึกษา
ได้เสอนความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและจริยธรรมไว้ว่า
ควรเริ่มต้นด้วยการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม และดำเนินการสอนตามขั้นตอนดังนี้
7.1
กำหนดพฤติกรรมทางจริยธรรมที่พึงปรารถนา
7.2
เสนอตัวอย่างพฤติกรรมในปัจจุบัน
7.3
ประเมินปัญหาเชิงจริยธรรม
7.4
แลกเปลี่ยนผลการประเมิน
7.5
ฝึกพฤติกรรม โดยมีผลสำเร็จ
7.6
เพิ่มระดับความขัดแย้ง
7.7
ให้ผู้รียนประเมินตนเอง
7.8
กระตุ้นให้ผูเรียนยอมรับตนเอง
8.
การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการ โดย กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอแนะการจัดการเรียนการสอน 12 กระบวนการด้วยกัน ดังนี้ (กรมวิชาการ
2534)
8.1
ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
8.2
กระบวนการสร้างความคิดรวมยอด
8.3
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
8.4
กระบวนการแก้ปัญหา
8.5
กระบวนการสร้างความตระหนัก
8.6
กระวนการปฏิบัติ
8.7
กระวนการกคณิตศาสตร์
8.8
กระวนการเรียนภาษา
8.9
กระวนการกลุ่ม
8.10
กระวนการสร้างเจตคติ
8.11
กระวนการเรียนรู้ความเข้าใจ
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2534)
ได้ให้ความหมายของการสอนที่เน้นกระบวนการไว้ว่า เป็นการสอนที่
ก.
สอนให้ผู้เรียนสามารถทำตามขั้นตอนได้และรับรู้ขั้นตอนทั้งหมดจนสามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานการณ์ใหม่ๆ
ข.
สอนให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนจนเกิดทักษะ
สามรถนำไปใช้ได้อย่างอัตโนมัติการสอนกระบวนการจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1.
มีความเข้าใจและใช้กระบวนการนั้นอยู่
2
คู่นะผู้เรียนผ่านขั้นตอนต่างๆของกระบวนการทีละขั้นอย่างเข้าใจครบถ้วนครบวงจร
3.
ผู้เรียนเข้าใจและรับรู้ขั้นตอนของกระบวนการนั้น
4.
ผู้เรียนนำกระบวนการนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้
5.
ผู้เรียนใช้กระบวนการนั้นในชีวิตประจำวันจนเป็นนิสัย
จะเห็นได้ว่ากระบวนการเหล่านี้ผู้สอนจะต้องเป็นผู้วางแผน
ทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้น
กระบวนการที่ใช้จะเป็นกระบวนการใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสำคัญ
8.1
ทักษะกระบวนการ (9 ขั้น)
1.
ตระหนักในปัญหาและความจำเป็น
ยกสถานการณ์ตัวอย่างและกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในปัญหาความจำเป็นของเรื่องที่ปรึกษา
หรือเห็นประโยชน์และความสำคัญของการศึกษาเรื่องนั้นๆ
โดยครูอาจนำเสนอเป็นกรณีตัวอย่างหรือสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาความขัดแย้งของเรื่องที่จะศึกษาโดยใช้สื่อประกอบ
เช่น รูปภาพ วีดีทัศน์ สถานการณ์จริง กรณีตัวอย่าง สไลด์ เป็นต้น
2.
คิดวิเคราะห์วิจารณ์
ครูกระตุ้นให้ผู้เรียนได้
คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ตอบคำถาม
แบบฝึกหัดและให้โอกาสผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล
3.
สร้างทางเลือกให้หลากหลาย
ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย
โดยร่วมกันคิดหาทางเลือก
และอธิบายข้อดีข้อเสียของทางเลือกนั้น
4.
ประเมินและเลือกทางเลือก
ให้ผู้เรียนพิจารณาตัดสินเลือกแนวทางในการแก้ปัญหา
และร่วมกันสร้างเกณฑ์โดยคำนึงถึงปัจจัย วิธีการดำเนินการ ผลผลิต ข้อจำกัด เหมาะสม
กาลเทศะ เพื่อใช้ในการพิจารณาเลือกแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งใช้วิธีระดมพลังสมอง
อภิปรายศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
5.
กำหนดและลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนวางแผนในการทำงานของตนเองหรือกลุ่มโดยอาจใช้ลำดับขั้นการดำเนินงานดังนี้
5.1
ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
5.2
กำหนดวัตถุประสงค์
5.3
กำหนดขั้นตอนการทำงาน
5.4
กำหนดผู้รับผิดชอบ (กรณีทำร่วมกันเป็นกลุ่ม)
5.5
กำหนดระยะเวลาการทำงาน
5.6
กำหนดวิธีการประเมิน
6.
ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
ให้ผู้เรียนปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ด้วยความสมัครใจ
ตั้งใจมีความกระตือรือร้นและเพลิดเพลินกับการทำงาน
7.
ประเมินระหว่างปฏิบัติ
ให้ผู้เรียนสำรวจปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยการซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
มีการประเมินการปฏิบัติงานตามขั้นตอนและตามแผนงานที่กำหนดไว้
โดยสรุปผลการทำงานแต่ละช่วง แล้วเสนอแนวทางการปรับปรุงการทำงานขั้นต่อไป
8.
ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
ผู้เรียนนำผลที่ได้จากการประเมินในแต่ละขั้นตอนมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
9.
ประเมินผลรวมเพื่อให้เกิดความภูมิใจ
ผู้เรียนสรุปผลการดำเนินงาน
โดยการเปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และผลพลอยได้อื่นๆ
ซึ่งอาจเผยแพร่ขยายผลงานแก่ผู้อื่นด้วยความเต็มใจและภาคภูมิใจ
8.2
กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นความสามารถทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความจำ
จนถึงขั้นวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าตามแนวคิดของ บลูม (Bloom) คือแนวคิดของกาเย่ (Gagne) ซึ่งเริ่มจากการเรียนรู้สัญลักษณ์ทางภาษาจุดเชื่อมโยงเป็นความคิดรวมยอดเป็นกฎเกณฑ์และนำกฎเกณฑ์ไปใช้
สอนควรพยายามใช้เทคนิคต่อไปนี้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เป็นขั้นๆ
อาจเลือกใช้เทคนิคใดก่อนหลังก็ได้ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
แต่ความพยายามกระตุ้นให้ผู้เรียนผ่านขั้นตอนย่อยทุกขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นสังเกต
ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมรับรู้แบบปรนัยให้เกิดความเข้าใจ
เปิดความคิดรวมยอด เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ สรุปเป็นใจความสำคัญครบถ้วน
ตรงตามหลักฐานข้อมูล
2.
อธิบาย
ให้ผู้เรียนตอบคำถาม
แสดงความคิดเห็นเชิงเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กำหนดเกณฑ์การใช้เหตุผล
ด้วยหลักการ คุณเจนและอ้างอิงหลักฐานข้อมูลประกอบให้น่าเชื่อถือ
3. รับฟัง
ให้ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็น
คำพิพากวิจารณ์ที่มีต่อความคิดของตน ได้ตอบคำถามโต้ตอบ และแสดงความคิดเห็นของตน
ฝึกให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนความคิดเดิมของตนตามเหตุผลหรือข้อมูลที่ดีโดยไม่ใช้อารมณ์
4. เชื่อมโยงความสัมพันธ์
ให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบความแตกต่าง
และความคล้ายคลึงของสิ่งต่างๆ ให้สรุปจัดกลุ่มสิ่งที่เป็นพวกเดียวกัน
เชื่อมโยงเหตุการณ์เชิงสาเหตุและเหตุผล หากกฎเกณฑ์การเชื่อมโยงในลักษณะอุปมาอุปไมย
5.
วิจารณ์
จัดกิจกรรมวายวิเคราะห์เหตุการณ์
คำกล่าว แนวคิด คือการกระทำ แล้วให้จำแนกหาจุดเด่น จุดด้อย ส่วนดี เสีย ส่วนสำคัญ
ไม่สำคัญ จากสิ่งนั้น ด้วยการยกเหตุผลหลักการมาประกอบการวิจารณ์
6.
สรุป
จัดกิจกรรมให้พิจารณาส่วนประกอบของการกระทำหรือข้อมูลต่างๆ
ที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน แล้วให้สรุปผลอย่างตรงและถูกต้องตามหลักฐานข้อมูล
8.4
กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด
1.
สังเกต
ให้นักเรียนไปศึกษาข้อมูล
รับรู้และทำความเข้าใจในปัญหาจนสามารถสรุป อัตนัยปัญหา
2.
วิเคราะห์
ผู้เรียนได้อภิปราย
หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อแยกแยะประเด็นปัญหา สภาพสาเหตุ และลำดับความสำคัญของปัญหา
3.
สร้างทางเลือก
ให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลายซึ่งอาจมีการทดลองค้นคว้า
ตรวจสอบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำกิจกรรมกลุ่มและควรมีการกำหนดหน้าที่ในการทำงานให้แก่ผู้เรียนด้วย
4.
เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก
ผู้เรียนปฏิบัติตามแผนงานและบันทึกการปฏิบัติงาน
เพื่อรายงานและตรวจสอบความถูกต้องของทางเลือก
5.
สรุป
ผู้เรียนสังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง
ซึ่งอาจจะทำให้รูปของรายงาน
8.5 กระบวนการสร้างความตระหนัก
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ความสนใจ
เอาใจใส่ รับรู้ เห็นคุณค่าในปรากฏการณ์ พฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ตอนการดำเนินการมีดังนี้
1. สังเกต
ให้ข้อมูลที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
เอาใจใส่ ไม่เห็นคุณค่า
2. วิจารณ์
ให้ตัวอย่าง สถานการณ์ ประสบการณ์ตรง
เพื่อให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์หาสาเหตุและผลเสีย ผลดี พี่จะเกิดขึ้นในทางระยะสั้น
และระยะยาว
3. สรุป
ให้อธิบายข้อมูลหรือหลักฐานมาสนับสนุนคุณค่าของสิ่งที่จะต้องตระหนักและวางเป้าหมายที่จะพัฒนาตนเองในเรื่องนั้น
8.6 กระบวนการปฏิบัติ
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติจนเกิดทักษะ
มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกตรับรู้
ให้ผู้เรียนได้เห็นตัวอย่างหลากหลายจนเกิดความเข้าใจและสรุปความคิดรวมยอด
2. ทำตามแบบ
ทำตามตัวอย่างที่แสดงให้เห็นทีละขั้นตอน
จากขั้นพื้นฐานไปสู่งานที่ซับซ้อนขึ้น
3. ทำเองโดยไม่มีแบบ
เป็นการให้ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบด้วยตนเอง
4. ฝึกให้ชำนาญ
ให้ผู้เรียนปฏิบัติด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญหรือทำได้โดยอัตโนมัติ
ซึ่งอาจเป็นชิ้นงานเดิมหรืองานที่คิดขึ้นใหม่
8.7 กระบวนการคณิตศาสตร์
กระบวนการนี้มี 2 วิธี คือ สอนทักษะการคิดคำนวณและทักษะแก้ปัญหาโจทย์
การสอนคิดคำนวณมีขั้นตอนย่อย คือ สร้างความคิดรวบยอดของคำ นิยาม
สอนกดโดยใช้วิธีอุปนัย การวินิจฉัย ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
ศูนย์การสอนทักษะแก้ปัญหาโจทย์มีขั้นตอนย่อยคือ แปลโจทย์ในเชิงภาษา
หาวิธีแก้ปัญหาโจทย์ หาวิธีแก้ปัญหาโจทย์ วางแผน ปฏิบัติตามขั้นตอน
และตรวจสอบคำถาม
8.8 กระบวนการเรียนภาษา
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้เกิดการพัฒนาทักษะทางภาษามีขั้นตอนดังนี้
1. ทำความเข้าใจสัญลักษณ์ สื่อ รูปภาพ
รูปแบบเครื่องหมาย
ผู้เรียนรับรู้เกี่ยวกับความหมายของคำ
กลุ่มคำ ประโยคและถ้อยคำสำนวนต่างๆ
2. สร้างความคิดรวบยอด
ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้จากประสบการณ์นำมาสู่ความเข้าใจและเกิดภาพรวมเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
3. สื่อความหมาย ความคิด
ทุเรียนถ่ายทอดทางภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้
4. พัฒนาความสามารถ
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามขั้นตอนคือความรู้ความจำ
ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
8.9 กระบวนการกลุ่ม
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนทำงานร่วมกัน
โดยเน้นกิจกรรมดังนี้
1. มีผู้นำกลุ่ม
คุณอาจจะเปลี่ยนกัน
2. วางแผนกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการ
3. รับฟังความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนบนพื้นฐานของเหตุผล
4. แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
เมื่อมีการปฏิบัติ
5. ติดตามผลการปฏิบัติ และปรับปรุง
6. ประเมินผลรวมและชื่นชมในผลงานของคณะ
8.10 กระบวนการสร้างเจตคติ
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่แทรกได้กับทุกเนื้อหา มีความรู้สึกที่ดีต่อกลุ่มที่เรียนอาจเป็นความคิด
หลักการ การกระทำ เหตุการณ์ สถานการณ์ เป็นต้น ขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต
ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล เหตุการณ์
การกระทำที่เกี่ยวข้องกับการมีเจตคติที่ดีและเจตคติที่ไม่ดี
2. วิเคราะห์
ผู้เรียนพิจารณาผลที่จะเกิดขึ้นตามมา
แยกเป็นการกระทำที่เหมาะสมได้ผลตามที่น่าพอใจ
และการกระทำที่ไม่เหมาะสมได้ผลที่ไม่น่าพอใจ
3. สรุป
ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลเป็นหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติ
8.11 กระบวนการสร้างค่านิยม
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าของค่านิยมด้วยตนเอง
มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ตระหนัก
ผู้เรียนพิจารณาการกระทำที่เหมาะสมและการกระทำที่ไม่เหมาะสม
รับรู้ความหมายจำแนกการกระทำที่แตกต่างกันได้
2. ประเมินเชิงเหตุผล
ผู้เรียนใช้กระบวนการอภิปรายกลุ่มแสดงความคิดเห็น
วิเคราะห์วิจารณ์การกระทำของตัวละคร หรือบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ
ว่าเหมาะสมหรือไม่เพราะเหตุใด
3. กำหนดค่านิยม
ผู้เรียนแต่ละคนแสดงความเชื่อถือ ความพอใจในการกระทำที่ควรกระทำในสถานการณ์ต่างๆ
พร้อมเหตุผล
4. วางแผนปฏิบัติ
ผู้เรียนช่วยกันกำหนดแนวปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยมีครูร่วมรับทราบกติกาการกระทำ
แบบสำรวจสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะได้รับเมื่อการกระทำดีแล้ว เช่น
การได้ประกาศชื่อให้เป็นที่ยอมรับ
5. ปฏิบัติด้วยความชื่นชม
ครูให้การเสริมแรงระหว่างการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความชื่นชมยินดี
8.12 กระบวนการเรียน ความรู้ความเข้าใจ
กระบวนการนี้ใช้กับการเรียนเนื้อหาเชิงความรู้มีขั้นตอนดังนี้
1. สังเกต ตระหนัก
ผู้เรียนพิจารณาข้อมูล สาระความรู้ สร้างความคิดรวบยอด ตั้งคำถาม
ตั้งข้อสังเกตสังเคราะห์ข้อมูล
เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้และกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาคำตอบต่อไป
2. การวางแผนปฏิบัติ
ผู้เรียนนำวัตถุประสงค์ หรือคำถามที่ทุกคนสนใจจะหาคำตอบมาวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม
3. ลงมือปฏิบัติ
ครูกำหนดให้สมาชิกในกลุ่มย่อยๆ
ได้แสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ค้นคว้า สัมภาษณ์
ศึกษานอกสถานที่ หาข้อมูลจากองค์กรในชุมชน เป็นต้น ตามแผนงานที่วางไว้
4. พัฒนาความรู้ความเข้าใจ
ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มารายงานและอภิปรายเชิงแปลความ ตีความ ขยายความ
นำไปใช้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่า
5. สรุป
ผู้เรียนรวบรวมเป็นสาระที่ควรรู้บันทึกลงสมุด
จะเห็นได้ว่า
กระบวนการการรวมทั้งรูปแบบการเรียนการสอนต่างๆ ดังได้เสนอไปแล้วข้างต้นมีจำนวนและความหลากหลายพอสมควร
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยังมีอีกเป็นจำนวนมาก
ผู้สอนจึงตระหนักว่าศาสตร์การสอนได้ให้แนวคิดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างหลากหลายพอสมควร
หาผู้สอนรู้จักแสวงหา ศึกษาเรียนรู้ และนำไปทดลองใช้
จะสามารถช่วยในการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ มีชีวิตชีวา และมีความหลากหลาย
ไม่จำเจอยู่กับวิธีการหรือกระบวนการเพียงไม่กี่วิธีซึ่งอาจทำให้ทางผู้สอนและผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย
สรุป
การบูรณาการเป็นการนำศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เนื้อหาวิชาต่างๆ ที่ใกล้เคียงกันหรือเกี่ยวข้องกันควรนำมาเชื่อมโยงกัน
เพื่อให้ผู้เรียนรู้อย่างมีความหมาย ลดความซ้ำซ้อนเชิงเนื้อหาวิชา
แนวคิดสำคัญที่ผู้สอนจะนำมาใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้เรียนได้นำข้อมูลหลากหลายที่เกิดจากการเรียนรู้ไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกันคือแนวคิดเกี่ยวกับ
การบูรณาการ เพจจะต้องจัดให้มีการบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนคือ
ในชีวิตของคนเรามีเรื่องราวต่างๆ
ที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันไม่ได้แยกออกจากกันเป็นเรื่องๆ
เมื่อมีการบูรณาการเข้ากับชีวิตจริงโดยการเรียนรู้ในสิ่งที่ใกล้ตัวแล้วขยายกว้างออกไปผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความหมาย
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถและทักษะที่หลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น